ESG คืออะไรและเหตุใดจึงมีความสำคัญ

นักลงทุนมีการคำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะนำเงินไปลงทุนกับที่ใดมาอย่างยาวนานแล้ว และในปัจจุบัน ESG ก็กำลังมีความสำคัญต่อพนักงาน ลูกค้า และวัฒนธรรมของบริษัทมากขึ้นเรื่อยๆ

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 6 นาที

นโยบาย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) เริ่มปรากฏขึ้นในกลยุทธ์ของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ช่วงปี 1960 นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจกับกิจกรรมของบริษัทที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมกันมากขึ้น และจะถอนตัวออกจากบริษัทหากพวกเขาคิดว่ากิจกรรมเหล่านั้นไม่พึงประสงค์หรือเป็นไปอย่างไม่มีความรับผิดชอบ

นักลงทุนได้ใช้อิทธิพลของตนเองในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2010 และเริ่มแผ่ขยายมากขึ้นๆ เมื่อเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก เมื่อนักลงทุนต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนกับบริษัทใด พวกเขาจะพิจารณาข้อมูลด้าน ESG ในแง่มุมต่างๆ เช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก ตลอดจนการปฏิบัติตามแนวทางด้านความยั่งยืนสากล โดยนักลงทุนเหล่านี้จะมองว่าบริษัทที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบนั้นมีความได้เปรียบกว่าคู่แข่งมาก

แต่ก็ไม่ใช่แค่นักลงทุนเท่านั้นที่คำนึงถึง ESG เพราะพนักงานก็คำนึงถึง ESG ในแผนปฏิบัติงานของพวกเขามากขึ้นด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่ทั่วโลกและการเติบโตของการทำงานแบบไฮบริดได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการมีเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งก็สอดคล้องกับประเด็น ESG อย่างลงตัวพอดิบพอดี พนักงานที่ได้รับการสำรวจโดยRobert Half จำนวนเกือบ 2 ใน 5 กล่าวว่าตนต้องการหางานใหม่หากนายจ้างไม่ได้คำนึงถึงประเด็น ESG มากเพียงพอ นอกจากนี้ คนหนุ่มสาวเองก็ให้ความสำคัญกับ ESG มากเป็นพิเศษ โดย 22% ของผู้คนที่มีอายุ 18-34 ปีมองว่าค่านิยมขององค์กรมีความสำคัญมากกว่าเงินเดือน

แก้งานยุ่งได้ไม่ยากด้วย Workplace

ไม่ว่าคุณจะต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับการกลับสู่ที่ทำงาน หรือนำวิธีการทำงานแบบผสมผสานไปปรับใช้ Workplace ก็สามารถทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้

ESG คืออะไร

ESG คืออะไร

ESG ประกอบขึ้นจากสามองค์ประกอบดังนี้

สภาพแวดล้อม

ผลกระทบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อมหมายรวมถึงนโยบายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะวัดตามข้อตกลงปารีสของสหประชาชาติ (UN’s Paris Agreement) ซึ่งจะเป็นข้อผูกมัดที่ทำให้ประเทศที่ลงนามในข้อตกลงก้าวไปสู่ความเป็นกลางของคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2050 และเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นเหล่านี้ ผู้นำธุรกิจจึงต้องมีความรับผิดชอบอย่างมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากองค์กรของตนเอง

นอกจากนี้ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ยังหมายรวมถึงการใช้พลังงานและน้ำ การรีไซเคิลและการจัดการของเสีย การกำจัดพลาสติก การลดผลกระทบของวัสดุอันตรายในกระบวนการผลิต และการให้ความสำคัญกับประเด็นการอนุรักษ์และความหลากหลายทางชีวภาพ

นโยบายด้านสังคม

นักลงทุนและลูกค้าจะให้ความสำคัญกับวิธีที่องค์กรจัดการความสัมพันธ์กับพนักงาน สังคม และชุมชนในวงกว้างมากขึ้น และก็กำลังจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพนักงานในปัจจุบันและพนักงานในอนาคต

ทว่าการทำงานจากทางไกลและการทำงานแบบไฮบริดได้เปลี่ยนลักษณะของอุปสรรคนั้นไป ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องจัดการผลกระทบในเชิงสังคมของการดำเนินงานของตน ซึ่งหมายรวมถึงสุขภาวะของพนักงาน ตลอดจนความหลากหลายและการเปิดกว้าง ทั้งในและนอกพื้นที่ทำงานจริง แม้ว่าการทำงานแบบไฮบริดจะทำให้เราเล็งเห็นถึงข้อดีของ ESG มากมาย เช่น การลดมลภาวะจากการเดินทางและการทลายอุปสรรคในการจ้างงาน แต่ผู้นำก็ต้องระวังถึงข้อเสียด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อเสียนั้นได้แก่ การขาดการเชื่อมต่อกับชุมชนท้องถิ่นและความโดดเดี่ยวของพนักงาน

การกำกับดูแล

แนวทางปฏิบัติในการจ้างงานที่เป็นธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและการปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการให้ดียิ่งขึ้น สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเอาใจใส่กับซัพพลายเชนและการให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์และบริษัทพาร์ทเนอร์ซึ่งมีค่านิยมทางจริยธรรมที่แข็งแกร่งมาเป็นอันดับหนึ่ง

9 เหตุผลที่คุณควรให้ความสำคัญกับ ESG ในที่ทำงาน

9 เหตุผลที่คุณควรให้ความสำคัญกับ ESG ในที่ทำงาน

การให้ความสำคัญกับ ESG ในที่ทำงานแห่งอนาคตจะก่อให้เกิดผลดีในหลากหลายแง่มุมดังต่อไปนี้

1. พนักงานที่มีส่วนร่วมมากขึ้น

บริษัทที่มีคะแนน ESG สูงรายงานว่าระดับความพึงพอใจของพนักงานก็สูงขึ้นตามไปด้วย การศึกษาโดย Marsh & McLennan Advantage เผยว่าธุรกิจที่พนักงานมีระดับความพึงพอใจสูงนั้นมีคะแนนประสิทธิภาพ ESG สูงขึ้น 14% เนื่องจากนายจ้างเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเห็นความสำคัญของความหลากหลายและมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ รวมถึงยังมีความฉลาดทางอารมณ์มากกว่า ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะพยายามทำความเข้าใจความรู้สึกของพนักงานมากขึ้น

2. ความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้น

London School of Economics เปิดเผยว่าบริษัทที่มีระดับความพึงพอใจของพนักงานสูงจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าธุรกิจที่มีคะแนนความพึงพอใจของพนักงานต่ำอยู่ระหว่าง 2% ถึง 4% และเมื่อ Stern Center for Sustainable Business เปรียบเทียบการศึกษา 1,000 ชิ้น พวกเขาก็พบว่า 58% ของการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ESG และประสิทธิภาพด้านการเงินนั้นมีความเกี่ยวพันกันในทางที่ดี

3. สร้างชื่อเสียงได้มากขึ้น

เนื่องด้วยสื่อหันมาให้ความสำคัญกับเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาทางสังคมกันมากขึ้น และการเคลื่อนไหวทางออนไลน์ก็เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ธุรกิจที่ไม่ผลงานที่แสดงถึงการให้ความสำคัญกับ ESG อาจต้องเผชิญกับการมีภาพลักษณ์ในเชิงลบและอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงได้ แต่สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือผลงานเหล่านี้จะต้องเป็นของจริง เพราะบริษัทที่ถูกมองว่าเป็น 'พวกฟอกเขียว' (การกล่าวอ้างที่เป็นเท็จหรือการทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ ESG ของตนเอง) จะต้องเผชิญกับการเสื่อมเสียภาพลักษณ์ต่อสาธารณะชน

4. มีการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

น้ำหนักของการออกกฎหมายสามารถทำให้ ESG กลายมาเป็นรากฐานทางกฎหมายในที่ทำงานได้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวรวมถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน และการต่อต้านการติดสินบน นอกจากนี้ การมุ่งปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในเชิงรุกจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการแทรกแซงด้านกฎระเบียบ นโยบายการปรับปรุงแก้ไข การติดตามตรวจสอบ และการดำเนินการในศาลที่แสนแพง

5. ดึงดูดลูกค้า

ลูกค้าต้องการเห็นแนวทางปฏิบัติด้าน ESG จากบริษัทที่พวกเขาซื้อสินค้ากันมากขึ้นเรื่อยๆ และธุรกิจที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางด้าน ESG ก็อาจไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ แบบสำรวจลูกค้าชิ้นหนึ่งเผยให้เห็นว่า ลูกค้า 62% ให้ความสำคัญกับการจ่ายเงินให้กับพนักงานอย่างเป็นธรรม การเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้นเมื่อต้องพิจารณาซื้อสินค้าในปัจจุบัน และลูกค้า 52% กล่าวว่าตนมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ากับผู้ค้าปลีกที่ใช้ซัพพลายเออร์หรือซัพพลายเชนที่มีจริยธรรม

6. ดึงดูดนักลงทุน

แบบสำรวจทั่วโลกโดย McKinsey ชี้ให้เห็นว่า 83% ของผู้นำธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเชื่อว่าโปรแกรม ESG จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคตได้ เพราะนักลงทุนมองว่าบริษัทที่มีกลยุทธ์ ESG ที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้นจะมีความยืดหยุ่นปรับตัวน้อยลงและบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านการเงินที่มากขึ้น

7. ดึงดูดผู้มีทักษะ

การศึกษาโดย The New York Times แสดงให้เห็นว่านักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจส่วนใหญ่จะยอมได้เงินเดือนที่ต่ำลงเพื่อทำงานในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม Robert Half พบว่า 53% ของผู้ที่ได้รับการสำรวจจะไม่ทำงานในบริษัทที่พวกเขาคิดว่าไม่มีจรรยาบรรณ รวมถึง 95% ของพนักงานออฟฟิศก็เชื่อเช่นกันว่าบริษัทที่นายจ้างทำธุรกิจด้วยนั้นควรจะต้องมีความหลากหลาย เอาใจใส่สิ่งแวดล้อม และโปร่งใส

ภายในปี 2029 Gen Z และคนยุคมิลเลนเนียลจะเข้ามาเป็น 72% ของพนักงานทั่วโลก และพนักงานแห่งอนาคตเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมากกว่าพนักงานรุ่นก่อนๆ โดยพวกเขาจะคาดหวังให้นายจ้างปฏิบัติตามความคาดหวังของพวกเขาในด้านสิ่งแวดล้อม จัดการกับปัญหาสังคม และแสดงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการด้านจริยธรรม

เมื่อพูดถึงการดึงดูดพนักงานอายุน้อยที่สำคัญเหล่านี้ บริษัทที่มีภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูดที่สุดสำหรับผู้ประกอบอาชีพรุ่นใหม่และนักเรียนจะมีคะแนน ESG สูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25%

8. รักษาพนักงานผู้ทรงคุณค่าเอาไว้

นโยบาย ESG ที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มโอกาสในการดึงดูดผู้มีความสามารถตัวท็อปเข้ามาในองค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณรักษาพนักงานเหล่านั้นไว้ได้ ซึ่งอาจเข้ามาช่วยบรรเทากระแสการลาออกครั้งใหญ่ได้ในท้ายที่สุด นอกจากนี้ ความพึงพอใจของพนักงานก็มีความเชื่อมโยงกับ ESG มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลที่ได้ก็คือ พนักงานที่มีความพึงพอใจจะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นและทำงานต่อในบทบาทของตนได้นานขึ้น

9. สร้างความรู้สึกของการมีเป้าหมาย

การระบาดใหญ่ทั่วโลกทำให้หลายคนมองหาสิ่งที่มีความหมายมากขึ้นจากการทำงาน กลยุทธ์ ESG ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยคัดเลือกพนักงานที่มีเป้าหมายและความคาดหวังที่มากขึ้นมาให้คุณได้ อย่างไรก็ตาม พนักงานเหล่านั้นก็ยังคงแสวงหาความรู้สึกของการมีส่วนร่วมส่วนบุคคลกับบริษัทที่พวกเขาทำงานด้วย และองค์กรต่างๆ อาจจำเป็นต้องส่งเสริมในด้านสุขภาวะ ตลอดจนนำเสนอสิ่งจูงใจอื่นๆ ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนและสวัสดิการ

วิธีการใช้กลยุทธ์ ESG ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการใช้กลยุทธ์ ESG ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ในจุดใดบนเส้นทาง ESG ก็ตาม มีสิ่งสำคัญสองสามอย่างที่องค์กรสามารถทำได้เพื่อปรับใช้หรือปรับปรุงกลยุทธ์ของตน

  • กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน

  • ประเมินแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันของคุณและให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพิจารณาองค์ประกอบแต่ละอย่าง ตลอดจนดูว่าจะสามารถพัฒนาและปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านั้นอย่างไร

  • อย่าลืมรวมการประเมิน ESG ของพาร์ทเนอร์ในห่วงโซ่อุปทานเข้าไปด้วย

  • พัฒนากรอบโครงสร้างเพื่อการปรับปรุงและการติดตาม

  • ตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสื่อสารกับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับ

  • สื่อสารกลยุทธ์ให้ชัดเจนทั้งภายในและภายนอกองค์กร

  • ไม่หลอกลวงว่าบริษัทของคุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนโยบายและคำมั่นสัญญาที่เป็นจริงและสามารถทำให้สำเร็จได้จริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

  • ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในความคิดริเริ่มทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม พร้อมทั้งส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

  • นำโปรแกรมการให้คำปรึกษาและการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้

  • ขอคำแนะนำจากพนักงานใหม่และพนักงานเก่า เพราะเมื่อมีพนักงานที่เป็น Gen Z และคนยุคมิลเลนเนียลมาเข้าร่วมทีมมากขึ้น คุณก็จะได้ข้อมูลเชิงลึกและไอเดียใหม่ๆ มากขึ้นตามไปด้วย

อ่านต่อ

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย

โพสต์ล่าสุด

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 11 นาที

วัฒนธรรมในที่ทำงาน: วิธีสร้างวัฒนธรรมเชิงบวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

วัฒนธรรมในที่ทำงานมีความสำคัญยิ่งขึ้นในโลกของการทำงานแบบผสมผสานและการทำงานทางไกล ร่วมหาคำตอบว่าวัฒนธรรมในที่ทำงานคืออะไรและคุณจะสามารถปรับปรุงวัฒนธรรมนี้ได้อย่างไร

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

ค่านิยมขององค์กรคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญ

ค่านิยมขององค์กรสามารถชี้นำทิศทางแก่พนักงานและให้เหตุผลที่จะเชื่อมั่นแก่ลูกค้า เรามาดูวิธีพัฒนาและสื่อสารค่านิยมขององค์กรกัน

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วัฒนธรรมองค์กร 4 ประเภท: แบบใดดีที่สุดสำหรับธุรกิจ

ตัวตนของธุรกิจเป็นการผสมผสานที่ไม่เหมือนใครของวัฒนธรรมต่างๆ ขององค์กร ดูว่าคุณจะค้นหาตัวตนของธุรกิจและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวตนนั้นได้อย่างไร