นวัตกรรมในที่ทำงาน

องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะไม่หยุดอยู่กับที่ การสร้างวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมสามารถช่วยให้คุณก้าวล้ำนำหน้ากว่าใคร รวมทั้งมีผลิตภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นได้

ผลิตภาพ | ใช้เวลาอ่าน 9 นาที
Innovation at Work
นวัตกรรมในที่ทำงานคืออะไร

นวัตกรรมในที่ทำงานคืออะไร

นวัตกรรมในที่ทำงานเป็นเรื่องของการสร้าง บ่มเพาะ และนำไอเดียใหม่ๆ ไปใช้ อาจเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทเอง ทั้งยังมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในแง่ของกลยุทธ์ กระบวนการ และวิธีการทางธุรกิจ ประเภทของนวัตกรรมอาจเกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี การสร้างโมเดลธุรกิจ ทรัพยากรบุคคล การตลาด รวมถึงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับลูกค้าโดยตรง

ในขณะที่ธุรกิจจำนวนมากให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้าและพนักงาน แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านวัตกรรมคือกุญแจสู่ความสำเร็จที่แท้จริง ธุรกิจที่ล้มเหลวในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะจบลงด้วยการหยุดชะงักในที่สุด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะต้องสร้างผลกระทบมหาศาลต่อการจัดการและบุคลากรเสมอไป นวัตกรรมอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันและครอบคลุม หรืออาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องก็ได้

แก้งานยุ่งได้ไม่ยากด้วย Workplace

ไม่ว่าคุณจะต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับการกลับสู่ที่ทำงาน หรือนำวิธีการทำงานแบบผสมผสานไปปรับใช้ Workplace ก็สามารถทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้

นวัตกรรมในที่ทำงานอาจแบ่งกว้างๆ ได้ 2 หมวดหมู่ ดังนี้

  • นวัตกรรมจากภายนอก ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์ทางการตลาด วัฒนธรรมบริษัท แบรนด์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

  • นวัตกรรมจากภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กร รวมถึงโครงสร้างและลำดับชั้นของงาน ทีม และการจัดการ กลยุทธ์ในการให้คำปรึกษาและฝึกสอน ตลอดจนโครงการริเริ่มที่ขับเคลื่อนโดยพนักงาน

เมื่อมองเข้าไปในองค์กร นวัตกรรมในที่ทำงานจะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อกระจายตัวไปทั่วทั้งวัฒนธรรมของบริษัท ซึ่งพนักงานจากทุกระดับต่างได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วม จัดเซสชั่นระดมสมอง และพัฒนาข้อมูลเชิงลึกและวิธีใหม่ๆ ในการทำงาน

เหตุใดนวัตกรรมในที่ทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เหตุใดนวัตกรรมในที่ทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มผลิตภาพ รวมถึงการกระตุ้นการจ้างงานและความพึงพอใจของพนักงาน แบบสำรวจของรัฐบาลสหราชอาณาจักรพบว่า บริษัทที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะมีอัตราการเติบโตมากกว่าบริษัทอื่นๆ ราว 2 เท่า อีกทั้งการนำหลักปฏิบัติที่ทันสมัยมาใช้ยังช่วยให้ผลิตภาพ สุขภาพ การมีส่วนร่วม และสุขภาวะของพนักงานดีขึ้น 20-60%

พนักงานคือผู้ที่จะได้รับประโยชน์ที่สำคัญที่สุดบางประการจากวัฒนธรรมในที่ทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม งานวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย Forbes เผยให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับนวัตกรรม โดยพนักงานที่มีส่วนร่วมจะมีความยืดหยุ่นและรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับงานที่ทำอยู่มากกว่า รวมถึงพร้อมเผชิญกับความท้าทายและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การคิดเชิงนวัตกรรมจึงนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและความล้มเหลว งานวิจัยโดย Deloitte พบว่า องค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่แข็งแกร่งมีแนวโน้มจะพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ๆ สูงกว่า 92% ทั้งยังมีผลิตภาพมากขึ้น 52% ด้วยกัน

ตัวอย่างของนวัตกรรมในที่ทำงาน

ตัวอย่างของนวัตกรรมในที่ทำงาน

การมีความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานไม่มีวิธีการที่ตายตัว และนวัตกรรมเองก็มีได้หลายรูปแบบ

นวัตกรรมที่ยั่งยืนหรือเพิ่มพูน นวัตกรรมประเภทนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้อาจดูไม่ยิ่งใหญ่ แต่ก็สามารถสร้างรากฐานของวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ครอบคลุมบุคลากรทุกคน นวัตกรรมประเภทนี้ทำให้ทุกแผนกและบุคลากรทุกคนได้ร่วมคิดเชิงนวัตกรรมกันเป็นปกติ รวมถึงได้หาโอกาสในการมีส่วนร่วม ทดลอง และพัฒนาไอเดียต่างๆ

นวัตกรรมที่ก้าวล้ำหรือเกิดขึ้นแบบฉับพลัน อาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจผ่านโครงการริเริ่มที่จัดทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้นหรือการระดมความคิด หรือเกิดขึ้นจากปัญหาหรือประเด็นที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน หรืออาจมีแรงผลักดันมาจากความต้องการของลูกค้า การจัดการธุรกิจในรูปแบบใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงของตลาดในวงกว้างก็ได้เช่นกัน

นวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดผลักดันให้ต้องมีการดำเนินการในทันที หรือเกิดขึ้นได้ในบริษัทที่เปิดกว้างและมีความมั่นใจมากพอที่จะลองสิ่งใหม่ๆ แม้ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้นเลยก็ตาม นวัตกรรมประเภทนี้มักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องโชคดีโดยบังเอิญหรือโชคช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาซึ่งความสำเร็จ ทว่าในความเป็นจริงนั้น สิ่งนี้จำเป็นต้องอาศัยกรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์และความมั่นใจ และผลประโยชน์สูงสุดที่ได้ก็จะตกอยู่กับบริษัทต่างๆ ที่พร้อมปรับตัวอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายต่างก็มีส่วนขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยเช่นกัน โดยอาจเป็นได้ทั้งในส่วนของการลงทุนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การทำงานร่วมกันภายในอย่างตั้งใจหรือโดยบังเอิญ การมีส่วนร่วมของลูกค้า หรือไอเดียหรือประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย วัฒนธรรมของธุรกิจในเชิงนวัตกรรมต่างเปิดรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ในวัฒนธรรมเหล่านี้ ทุกคนสามารถทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ประสิทธิภาพการทำงาน ความสนุกเพลิดเพลิน และผลิตภาพได้ ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยสำหรับธุรกิจ

12 ไอเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมในที่ทำงาน

12 ไอเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมในที่ทำงาน

Engage for Success Survey หรือที่มักจะรู้จักในฐานะรายงาน MacLeod ได้สำรวจองค์กรต่างๆ ทั่วสหราชอาณาจักรเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานที่สูงกับประสิทธิภาพที่สูง รายงานดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การปลดล็อกศักยภาพของวัฒนธรรมในที่ทำงานในเชิงนวัตกรรม การกำหนดหลักคุณธรรม การสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงความมุ่งมั่นและการสื่อสารแบบสองทาง คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมอย่างแท้จริง

ข้อควรพิจารณาต่างๆ ในการก้าวเป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมมากขึ้นมีดังนี้

1. เตรียมพร้อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ระบุปัญหาและอุปสรรคทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนเริ่มต้นจัดทำกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ตระหนักถึงข้อจำกัดของความคิดเชิงนวัตกรรม เช่น การขาดความมั่นใจ เวลาที่ไม่เพียงพอ และการพึ่งพาวิธีดำเนินงานแบบเก่าๆ มากจนเกินไป ตลอดจนส่งเสริมวิธีคิดใหม่ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าจะนำมาซึ่งนวัตกรรมอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อทั้งองค์กรดำเนินงานด้วยมุมมองเชิงบวกและมีอิสระในการท้าทายสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่

2. ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม

วัฒนธรรมบริษัทในเชิงนวัตกรรมล้วนเกี่ยวข้องกับคนทุกคน ลองใช้แบบสำรวจ กล่องรับฟังข้อเสนอแนะ และเซสชั่นรับฟังคำติชมเป็นประจำเพื่อแสดงความเปิดกว้างสำหรับไอเดียใหม่ๆ และสร้างวิธีแสดงความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บริษัทที่นำหลักการเรื่องความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกไปปฏิบัติจริงจะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลายเมื่อทุกคนได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วม

3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

การมีส่วนร่วมนั้นขึ้นอยู่กับความไว้วางใจและเป็นความมุ่งมั่นจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็คือองค์กรและพนักงานในองค์กร โดยงานวิจัยจาก Gallup พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นและระดับของนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก

4. ชื่นชมและให้รางวัลแก่ความคิดเชิงนวัตกรรม

การชื่นชมพนักงานเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม งานวิจัยเผยให้เห็นว่า พนักงานราว 88% ที่รายงานว่าตนได้รับคำชมจากการทำงานได้ดี กล่าวว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตนได้รับการส่งเสริมให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างแข็งขัน

5. ทลายระบบลำดับชั้นแบบเก่าๆ

เมื่อเป็นเรื่องของความคิดและหลักปฏิบัติในเชิงนวัตกรรม ทุกคนต่างมีบทบาทที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าแต่ละคนจะมีประสบการณ์มากน้อยเพียงใดหรืออยู่ในตำแหน่งใดของธุรกิจก็ตาม แบบสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่า 45% ของพนักงานเห็นพ้องต้องกันว่าการก้าวข้ามอุปสรรคเกี่ยวกับระดับการจัดการที่ต่างกันเป็นหนึ่งในความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับการคิดเชิงนวัตกรรมภายในบริษัท

6. ว่าจ้างทีมที่มีความหลากหลาย

บริษัทที่ก้าวล้ำนำสมัยอย่างแท้จริงจะพยายามว่าจ้างบุคลากรที่มีใจเปิดกว้างต่อนวัตกรรม แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่บุคคลนั้นเป็นตัวแทนของภูมิหลังและประสบการณ์ที่หลากหลายจริงๆ ซึ่งสามารถมอบมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้นและมีคุณค่าให้กับการพูดคุยและกระบวนการต่างๆ ได้

7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคิดเชิงนวัตกรรมนั้นมีความเป็นธรรม

อย่ามองข้ามประเด็นความปลอดภัย การเปิดกว้าง ความหลากหลาย และความยั่งยืนเมื่อต้องทดสอบไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ

8. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

ผสมผสานทีมและบุคลากรจากระดับการจัดการและแผนกต่างๆ เพื่อท้าทายและทดสอบไอเดียจากมุมมองที่หลากหลาย วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับลูกค้าเก่าและลูกค้าปัจจุบัน ซึ่งทุกคนอาจมีข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อนวัตกรรมได้ด้วย

9. ให้และรับฟังคำติชม

พนักงานต่างให้ความสำคัญกับการให้คำติชมทั้งแบบทางการและไม่ทางการ โดยมองว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้กันมากยิ่งขึ้น คนยุคมิลเลนเนียลและคน Gen Z ต่างมีความต้องการมากเป็นพิเศษเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเลือกที่ทำงาน ทั้งยังคอยมองหาการทำงานแบบร่วมมือกันมากขึ้น

นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับฟังความเห็นได้ด้วยการสอบถามสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และสอบถามว่าลูกค้ามีไอเดียเกี่ยวกับวิธีการที่คุณสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเองหรือไม่ วิธีนี้สามารถให้ผลดีกับทั้งสองฝ่ายได้ ทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการกำหนดอนาคตของธุรกิจของคุณร่วมกันอีกด้วย

10. ให้เวลาและอิสระในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ตรวจสอบให้มั่นใจว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่านวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงเปิดโอกาสให้ได้ "คิดนอกกรอบ" เมื่อต้องระดมสมองหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ลองจัดแผนกิจกรรมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เช่น เวิร์คช็อปงานศิลปะ การเขียน หรือการทำอาหาร เซสชั่นการแสดงบทบาท หรือเกมแนวแก้ไขปัญหา โดยสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาผูกโยงกับประเด็นในธุรกิจ หรือจะแค่ใช้เป็นโอกาสในการลองคิด ทำงานร่วมกัน และเรียนรู้ผ่านแนวทางใหม่ๆ ก็ได้เช่นกัน

11. กล้าที่จะล้มเหลว

ความล้มเหลวหรือความผิดหวังไม่ใช่จุดจบของนวัตกรรม แต่เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยน ปรับตัว และเรียนรู้

12. ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ

ซอฟต์แวร์และเครื่องมือจัดการโปรเจ็กต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเรื่องนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ในที่ทำงานนั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมไปถึงการใช้เครื่องมือทำงานร่วมกัน ตลอดจน Virtual Reality และเมตาเวิร์สเพื่อช่วยให้ไอเดียของคุณเป็นรูปเป็นร่างและพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ค้นพบข้อมูลอัพเดตล่าสุดเกี่ยวกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในห้องข่าวบน Workplace

เรียนรู้เพิ่มเติม
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ค้นพบข้อมูลอัพเดตล่าสุดเกี่ยวกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในห้องข่าวบน Workplace

เรียนรู้เพิ่มเติม

โพสต์ล่าสุด

การทำงานจากทางไกล | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

การทำงานจากทางไกล: ประโยชน์และความท้าทาย

เราทำงานจากทางไกลกันมากขึ้น และอาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ค้นพบข้อดีและข้อเสียของการทำงานจากทางไกลและวิธีใช้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานรูปแบบนี้

ผลิตภาพ | ใช้เวลาอ่าน 11 นาที

เทคนิคการจัดการเวลา

เมื่อวิธีและสถานที่ทำงานของเราเปลี่ยนแปลงไป การช่วยให้บุคลากรที่ทำงานจากทางไกลและบุคลากรหน้างานมีส่วนร่วมและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เทคนิคบริหารจัดการเวลาเหล่านี้สามารถช่วยคุณได้

ผลิตภาพ | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

วิธีเพิ่มผลิตภาพของตัวคุณเอง

ผลิตภาพในตัวเองคืออะไร และคุณจะพัฒนาผลิตภาพได้อย่างไร ทำตามขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านผลิตภาพของคุณ