5 วิธีในการเพิ่มคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน

องค์กรต่างๆ กำลังปรับเปลี่ยนแนวคิดในการมอบคุณค่าแก่พนักงานและประสบการณ์แบบดิจิทัล เรามาดูกันว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายอย่างไรทั้งต่อโลกแห่งการทำงานและตัวคุณเอง

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
employee value proposition - Workplace from Meta

ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและพนักงานได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ระยะเวลาเฉลี่ยที่พนักงานทำงานอยู่กับองค์กรคือ 1.8 ไปจนถึง 2 ปีเท่านั้น แม้กระทั่งองค์กรที่ดีที่สุดของโลกบางแห่ง เช่น Google, Apple, Amazon และ Microsoft ก็ได้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน1 และตัวเลขเหล่านี้ก็เป็นผลลัพธ์ที่ได้หลังองค์กรมอบสิทธิพิเศษและสวัสดิการที่ดึงดูดใจทั้งหมดให้แก่พนักงานแล้ว

องค์กรหัวก้าวหน้าก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน พวกเขากำลังทบทวนคุณค่าที่มอบให้แก่พนักงาน หรือก็คือสิ่งที่องค์กรเสนอให้แก่พนักงานนั่นเอง องค์กรเหล่านี้กำลังมองหาวิธีใหม่ๆ ในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน รวมไปถึงการสร้างกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของพนักงานใหม่ๆ และพวกเขาก็กำลังออกแบบแพลตฟอร์มและนโยบายใหม่เพื่อปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่ในฐานะพนักงาน เพื่อให้ทุกคนมีประสบการณ์ของพนักงาน (EX) ที่ดีขึ้น

แก้งานยุ่งได้ไม่ยากด้วย Workplace

ไม่ว่าคุณจะต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับการกลับสู่ที่ทำงาน หรือนำวิธีการทำงานแบบผสมผสานไปปรับใช้ Workplace ก็สามารถทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้

คุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงานแตกต่างจากภาพลักษณ์ของนายจ้างอย่างไร

คุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงานแตกต่างจากภาพลักษณ์ของนายจ้างอย่างไร

อธิบายง่ายๆ ก็คือ ภาพลักษณ์ของนายจ้างเป็นเรื่องภายนอก (มุมมองของคนนอกองค์กร) และคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงานเป็นเรื่องภายใน (มุมมองของพนักงานจากภายในองค์กร) บริษัทส่วนใหญ่ทุ่มเทเวลา ความพยายาม และเงินจำนวนมหาศาลไปกับการสร้างภาพลักษณ์ของนายจ้างของตน แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถสูงที่สุดมักจะเป็นเรื่องที่ทีมผู้นำให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

ทว่าบ่อยครั้งที่ประสบการณ์ของพนักงานก็อาจได้รับผลกระทบเมื่อเกิดช่องว่างระหว่างพนักงานผู้มีความสามารถและแบรนด์ กล่าวคือ ความคาดหวังของพนักงานกับสิ่งที่นายจ้างสามารถทำได้จริงนั้นไม่ตรงกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติงาน (งานที่พนักงานทำ) หรือความล้มเหลวในแง่ของวัฒนธรรมในที่ทำงาน (ความรู้สึกของพนักงาน)

ประสบการณ์ทางดิจิทัลของพนักงาน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ประสบการณ์ทางดิจิทัลของพนักงาน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การที่เราใช้งานแอพต่างๆ ในชีวิตส่วนตัวจะทำให้เราได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างมาก เพราะแค่แตะแอพมือถือเพียงไม่กี่ครั้ง เราก็สามารถส่งสิ่งสำคัญในนาทีสุดท้ายได้ หรือสตรีมคอนเทนต์วิดีโอที่เราชื่นชอบได้จากทุกที่ในทุกอุปกรณ์ การที่เหล่าพนักงานนำอุปกรณ์ไอทีมาใช้ในการทำงาน บวกกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่บ้านได้สร้างความคาดหวังว่าเราจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในชีวิตการทำงาน

แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ธุรกิจล้มเหลวในการตอบสนองต่อความคาดหวังเหล่านี้

พนักงานมักมีปัญหาในการติดต่อกับเพื่อนร่วมงาน และผู้คนก็เสียเวลาไปมากมายกับการค้นหาข้อมูลที่สำคัญซึ่งจำเป็นต่อการทำให้ตัวเองมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี พนักงานมักจะต้องเผชิญกับระบบ ขั้นตอน และโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนเพื่อที่ให้ได้รับข้อมูลและการสนับสนุนที่ตนต้องการ แทนที่จะได้สัมผัสประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่น

ซึ่งเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก พนักงานต้องแบ่งเวลา 20% จากเวลาทั้งหมดเพื่อค้นหาข้อมูลในทุกสัปดาห์ และ 70% ของพนักงานรายงานว่าตนต้องกรอกข้อมูลซ้ำๆ ในหลายระบบเพื่อที่จะทำงานให้เสร็จ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดประสบการณ์ของพนักงานในเชิงลบแก่พนักงานที่ทำงานผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีสำหรับธุรกิจเลย

3 สัญญาณที่แสดงว่าคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงานนั้นไม่น่าสนใจ

3 สัญญาณที่แสดงว่าคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงานนั้นไม่น่าสนใจ

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองพบเจอปัญหาอยู่หรือเปล่า ลองสังเกตสัญญาณ 3 ข้อต่อไปนี้

อัตราการลาออกของพนักงานสูง

ข้อมูลของ Gartner เผยว่ามีหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพียง 23% เท่านั้นที่เชื่อว่าพนักงานส่วนใหญ่จะยังคงทำงานในองค์กรปัจจุบันต่อหลังจากการระบาดใหญ่ทั่วโลกสิ้นสุดลง บริษัทต่างๆ ไม่ได้แค่ต้องต่อสู้กับคู่แข่งเพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถเอาไว้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เพราะหลังจากที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวและหลังจากที่ทำงานจากที่บ้านผ่านการประชุม Zoom อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี เราจึงคาดว่าเหล่าพนักงานออฟฟิศจำนวนมากจะไม่ได้แค่เปลี่ยนงานเพียงอย่างเดียว แต่จะก้าวออกจากเส้นทางสายอาชีพไปโดยสิ้นเชิงด้วย

ในยุคที่คนรุ่นใหม่กล้าที่ออกตามล่าความฝันของตัวเองนี้ พนักงานอายุน้อยมักจะลาออกจากงานเพื่อหาหนทางเป็นผู้ประกอบการ ทำงานอิสระ หรือเปลี่ยนงานเสริมให้เป็นงานเต็มเวลา

แนวทางของนายจ้างแบบดั้งเดิมนั้นมักจะใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้วสำหรับวิถีการทำงานรูปแบบนี้ แนวความคิดเดิมๆ เกี่ยวกับการมอบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการใหม่ๆ และการเพิ่มทักษะให้กับพนักงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางดิจิทัลนั้นไม่ได้ให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่บริษัทต่างๆ รู้สึกเป็นกังวล ทว่าขั้นตอนแรกในการหาทางแก้ไขคือการเข้าใจเหตุผลที่แฝงอยู่ให้ได้เสียก่อน

พนักงานไม่มีส่วนร่วม

อีกนัยหนึ่ง พนักงานที่ไม่มีส่วนร่วมมักจะให้ความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมายของทีมและวัตถุประสงค์ขององค์กรน้อยลง และพนักงานเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่ค่อยแนะนำนายจ้างของตนให้กับคนอื่นได้รู้จัก

การปรับปรุงการสื่อสารในที่ทำงานนับเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน สถานที่ทำงานที่ส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิดกว้างและมอบเวทีให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างอิสระมีแนวโน้มที่จะทำให้พนักงานไว้วางใจผู้นำ มีการแชร์ไอเดีย และขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

ผลิตภาพอยู่ในระดับต่ำ

ธุรกิจโดยเฉลี่ยใช้แอพประมาณ 88 แอพ และองค์กรขนาดใหญ่อาจใช้แอพมากถึง 175 แอพเลยทีเดียว2 และหากไม่มีมาตรการป้องกัน พนักงานก็อาจไม่สนใจฝ่ายไอทีแล้วไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้รับอนุญาตอื่นๆ เพื่อทำงานร่วมกันและใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลได้ การต้องใช้แอพพลิเคชั่นสลับกันไปมาหลายๆ แอพและจำนวนการประชุมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นทำให้พนักงานมีเวลาทำงานจริงๆ น้อยมาก

องค์กรแบบดั้งเดิมมักมองการรับรู้ของพนักงานเทียบเท่ากับผลิตภาพ นายจ้างต้องเปลี่ยนความคิดแบบนี้ และควรวางโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้พนักงานพบจุดสมดุลระหว่างการจัดลำดับความเร่งด่วนของงานที่สำคัญและการปรับปรุงการทำงานร่วมกันด้วยการผสมผสานเครื่องมือแบบครบวงจรและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

alttext

การเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันผ่านเครื่องมือดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมของพนักงานได้

5 วิธีในการเพิ่มคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน

5 วิธีในการเพิ่มคุณค่าที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน

คุณจะสร้างองค์กรที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นได้อย่างไร ลองทำ 5 สิ่งต่อไปนี้

สร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมาย

พวกเราส่วนใหญ่ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตอยู่ในที่ทำงาน คงจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหมถ้าจะใช้เวลาจำนวนมากนั้นไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย เราทุกคนคงจะเห็นด้วยกับคำกล่าวนั้น

แต่แม้ว่าการเชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในอาคารเดียวกับคุณนั้นจะเป็นเรื่องง่าย แต่การเชื่อมต่อพนักงานในบริษัทที่มีการกระจายตัวกันไปในหลายพื้นที่ทั่วโลกเข้าด้วยกันนั้นนับว่าเป็นเรื่องยากเลยทีเดียว และเนื่องจากองค์กรต่างๆ หันมาใช้การทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากทางไกล การค้นหาวิธีรักษาการเชื่อมต่อระหว่างพนักงานที่มีความแตกต่างกันไว้ด้วยกันจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

ดังนั้น ให้ลองนึกถึงวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ภายในบริษัทที่จะช่วยลดอุปสรรคระหว่างทีมและคนในลำดับชั้นต่างๆ รวมถึงระบุบทบาทที่ผู้นำมีต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร (ใบ้ให้ว่าไม่ได้เป็นเป็นความรับผิดชอบของทีมฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพียงอย่างเดียว)

การขับเคลื่อนแคมเปญเกี่ยวกับการเปิดกว้างเป็นสิ่งที่ดี แต่คุณจะทำให้วัฒนธรรมของบริษัทนั้นมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้อย่างไร วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งคือการรับฟังพนักงานทุกคน พร้อมทั้งให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นออกมา การใช้แบบสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงานถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำความเข้าใจความต้องการของคนในองค์กรของคุณ

สร้างสถานที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่น

พื้นที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่นหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่การออกแบบพื้นที่ให้สวยงามไปจนถึงเครื่องมือที่คุณใช้เพื่อพูดคุยและทำงานร่วมกัน การสร้างสมดุลให้เหมาะสมนี่แหละที่จะช่วยให้คุณสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมได้

ทว่าบริษัทต่างๆ จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการระบาดใหญ่ทั่วโลกและการเปลี่ยนไปใช้การทำงานแบบไฮบริดได้อย่างไร

การวิจัยของ Gartner แนะนำว่า 82% ของผู้นำบริษัทตั้งใจที่จะให้พนักงานทำงานจากทางไกลภายหลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เราจำเป็นต้องให้ทางเลือกที่อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดและระบุกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นให้กับแต่ละบทบาท ทีม และแผนก

คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาเครื่องมือเพิ่มผลิตภาพอื่นๆ มาใช้อีก แต่ให้มองหาแพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่สามารถเชื่อมต่อระบบนิเวศแอพ พนักงาน และพาร์ทเนอร์จากภายนอกเข้าด้วยกันได้โดยที่พนักงานไม่ต้องเรียนรู้มากและมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่น

ส่งเสริมการเติบโตส่วนบุคคล

คำว่า "การเติบโต" สำหรับแต่ละคนนั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไป สำหรับบางคน การเติบโตหมายถึงการเรียนรู้และทดลองทำสิ่งใหม่ๆ แต่สำหรับอีกหลายๆ คน การเติบโตอาจหมายถึงการมีความรับผิดชอบมากขึ้นและได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปสูงๆ

การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานไม่ใช่โอกาสเดียวที่จะได้หารือเกี่ยวกับการเติบโตและแผนการทำงาน คุณจะทำให้การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องกลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรของคุณได้อย่างไร แล้วคุณจะจัดเก็บและแชร์การเรียนรู้เหล่านี้ให้กับทั้งองค์กรเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ตลอดเวลาได้อย่างไร

พนักงานทุกคนควรมองเห็นโอกาสที่มีอยู่ในองค์กรของคุณ และพนักงานก็ควรจะสามารถค้นพบแหล่งข้อมูลและติดตามผู้สอนเพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ได้ด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนกและโปรเจ็กต์ต่างๆ จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกันได้

ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี

James Davies ผู้ฝึกสอนด้านสุขภาพจากสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "บริษัทต่างๆ ต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมีเป้าหมายเป็นของตนเองมากขึ้น และสามารถจัดการกับเรื่องต่างๆ เช่น ความวิตกกังวล ตลอดจนทำให้ตัวเองมีแรงบันดาลใจมากขึ้นได้ ผมคิดว่าเราจะเห็นว่าสุขภาพกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนของพนักงานมากขึ้น โดยมีแหล่งข้อมูลและเครื่องมือประกอบมากมาย"

แต่ผู้นำธุรกิจจะทำให้แหล่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมใช้งานในเวลาที่ผู้คนต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับความเครียดและต้องการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้นได้อย่างไร

คำตอบส่วนหนึ่งคือการรวบรวมนโยบายและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมเข้าไว้ด้วยกัน อีกส่วนหนึ่งคือการสร้างคอมมูนิตี้ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกันสามารถมาร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกันได้

ซึ่งอาจเป็นกลุ่มออนไลน์สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่เพิ่งกลับมาทำงาน สุขภาพ หรือแม้กระทั่งงานอดิเรกและความสนใจ กลุ่มเหล่านี้จะนำบุคลากรของคุณมารวมกันเพื่อช่วยให้องค์กรของคุณมีความคิดสร้างสรรค์และมีผลิตภาพมากขึ้นในระหว่างที่คุณกำลังพิจารณาการเติบโตขององค์กรในก้าวต่อไป

เป็นหนึ่งเดียวกับเป้าหมายที่มีร่วมกัน

แน่นอนว่าทุกองค์กรต้องการเห็นบุคคลและทีมทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่หลายๆ องค์กรก็มักจะไม่ค่อยเฉลิมฉลองหรือชื่นชมความพยายามในภาพรวมที่นำไปสู่ความสำเร็จสักเท่าไหร่

ผู้นำธุรกิจหลายรายจึงได้ออกแบบโปรแกรมรางวัลและการชื่นชมมาเพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้ แต่แค่นั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ คุณจะสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกับส่วนรวมต่อไปโดยที่ไม่สนว่าบทบาทของตนจะเล็กหรือใหญ่ได้อย่างไร

คำตอบอยู่ที่การหาวิธีช่วยให้ผู้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่า เพื่อให้พวกเขาเชื่อในค่านิยมองค์กรของคุณ การถ่ายทอดค่านิยมเหล่านี้ไปยังทุกส่วนของชีวิตการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงการบริการลูกค้าหรือการสร้างสังคมที่ดีขึ้น จะทำให้พนักงานรู้สึกสนใจและเกิดแรงบันดาลใจมากขึ้นจากสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นทีม

ค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมว่า Workplace สามารถช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานได้อย่างไรที่นี่

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

อ่านต่อ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมของพนักงานคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อบุคลากรและธุรกิจของคุณ

เรียนรู้เพิ่มเติม

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดคู่มือฟรีเพื่อค้นพบกลยุทธ์หลังโควิดจากผู้นำด้านการสื่อสารระดับโลก

ดาวน์โหลดเลย
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมของพนักงานคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อบุคลากรและธุรกิจของคุณ

เรียนรู้เพิ่มเติม

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดคู่มือฟรีเพื่อค้นพบกลยุทธ์หลังโควิดจากผู้นำด้านการสื่อสารระดับโลก

ดาวน์โหลดเลย

โพสต์ล่าสุด

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

การมีส่วนร่วมของพนักงานคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อองค์กรของคุณ

เรียนรู้เกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน และวิธีสังเกตเมื่อพนักงานรู้สึกไม่มีส่วนร่วมกับการทำงาน

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

คำถามสำหรับแบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน: ควรถามอะไรและทำไม

คุณจะสร้างประสบการณ์ของพนักงานให้ออกมาดีเลิศได้อย่างไรหากคุณไม่สามารถวัดผลสิ่งเหล่านี้ได้ เรียนรู้วิธีใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรของคุณ

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

กลยุทธ์การสื่อสารทางธุรกิจ และเหตุผลที่องค์กรจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้

องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องทบทวนกลยุทธ์การสื่อสารของตนเองใหม่เมื่อบุคลากรเริ่มทำงานทางไกลในช่วงล็อกดาวน์ แต่ในปัจจุบัน เมื่อบุคลากรบางส่วนเริ่มกลับไปสู่ที่ทำงานแล้ว ธุรกิจจึงต้องกลับมาคิดกลยุทธ์ใหม่อีกครั้ง เรียนรู้วิธีจัดทำกลยุทธ์นี้กัน