2 วิธีในการเริ่มสร้างอนาคตแห่งการทำงานให้เป็นจริง
เราได้พูดถึงวิธีที่ผู้คนจะสามารถทำงานในเมตาเวิร์สกันมามากแล้ว ดังนั้นก็ถึงคราวที่เราแสดงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมบ้างแล้วจริงไหม เราจะมาสำรวจวิธีที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรเหล่านี้ใช้ในการทำให้อนาคตแห่งการทำงานกลายเป็นจริงในชีวิตประจำวันกัน



อนาคตขยับใกล้เข้ามาค่อนข้างเร็ว ในงาน Meta Connect 2021 เราได้แชร์วิสัยทัศน์เรื่องเมตาเวิร์สที่จะเต็มไปด้วยวิธีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกันและมีผลิตภาพในที่ทำงานมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี เราก็ได้ประกาศความคืบหน้าในการสร้างอนาคตที่ว่านี้
เราคืบหน้าไปหลายส่วนมาก เราได้ประกาศเปิดตัว Meta Quest Pro แว่น VR โฉมใหม่ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงหลักการทำงานร่วมกันและผลิตภาพ ทั้งยังเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Meta Horizon Workrooms ที่เราตั้งใจสร้างและปรับให้เหมาะกับ Meta Quest Pro เพื่อช่วยให้คุณมีผลิตภาพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังได้ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ที่จะรวมเครื่องมือด้านผลิตภาพยอดนิยมของ Microsoft และอุปกรณ์ Virtual Reality ของ Meta เข้าด้วยกันอีกด้วย
แต่นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ก่อนที่องค์กรต่างๆ จะได้ตบเท้าเข้ามาในโลกแห่งออฟฟิศเสมือนที่สมจริงกันอย่างเต็มรูปแบบและแนะนำตัวเอง (รวมถึงปรากฏตัว) ในการประชุมแบบความจริงผสมแห่งอนาคต บางบริษัทก็ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือในปัจจุบันอย่างเต็มศักยภาพเพื่อเริ่มก้าวเข้าสู่อนาคตแห่งการทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ต่อไปนี้คือวิธีที่องค์กรเหล่านี้ลงมือทำและวิธีที่คุณเองก็สามารถทำได้เช่นกัน
Workplace for Good
เรามอบ Workplace ให้แก่องค์กรไม่แสวงผลกำไรทั่วโลกใช้งานเพื่อช่วยส่งเสริมความหลากหลาย สร้างความแข็งแกร่งภายในทีม ตลอดจนสร้างการสื่อสารและการทำงานร่วมกันภายในองค์กร









แคล่วคล่องว่องไว
หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การใช้เทคโนโลยีช่วยให้คุณให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสำคัญที่สุดของคุณ (แทนที่จะก่อให้เกิดปัญหาตามมา) ได้อย่างไร
องค์กรไม่แสวงผลกำไรไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการมากเท่ากับหลายๆ ธุรกิจ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของบุคลากรหน้างานของตนเอง ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้องค์กรเหล่านี้มีอิสระในการทดสอบและเรียนรู้แนวทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ จากแถวหน้าของอนาคตแห่งการทำงานมากกว่า
เราจะเห็นตัวอย่างได้จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ที่พบว่าการใช้แนวทางด้าน Augmented Reality (AR) ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดเป็นวิธีการที่จำเป็นที่ช่วยบุคลากรทั่วโลกในการรับมือกับประเด็นด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ คุณสามารถดูตัวอย่างได้ที่นี่
หลักสูตรอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เป็นประสบการณ์การเรียนรู้แบบ AR ความยาว 20 นาทีที่เปิดให้ผู้คนได้เรียนรู้ผ่านแอพ WHO Mobile
หลักสูตรดังกล่าวมีการสาธิตและทดสอบบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับขั้นตอนที่เหมาะสมในการสวมและถอดชุด PPE โดยมีพยาบาลเสมือนจริงคอยช่วยสาธิตวิธีการที่ถูกต้อง
WHO Academy เป็นแผนกใหม่และศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยภายในองค์การอนามัยโลกซึ่งมีเป้าหมายอันทะเยอทะยานในการใช้เทคโนโลยีที่มีความสมจริง ตลอดจนเป้าหมายในการถ่ายทอดข้อมูลและการฝึกอบรมแก่บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้กำหนดนโยบาย และบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

เชื่อมต่อการสื่อสารของบริษัทเข้ากับการมีส่วนร่วมของพนักงาน
หรืออีกความหมายหนึ่งคือ จัดทำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่อิงจากกลยุทธ์ด้านบุคลากร ไม่ใช่ในทางกลับกัน
การหันมาทำงานจากทางไกลในช่วงล็อกดาวน์ทั่วโลกส่งผลให้หลายองค์กรจำเป็นต้องคิดหาแนวทางใหม่ๆ ในการสื่อสารภายในบริษัท ทั้งยังเป็นการให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงระหว่างหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรกับประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญอย่างการมีส่วนร่วมของพนักงาน กำลังใจ และประสบการณ์ในภาพรวมมากยิ่งขึ้นด้วย
เราจะเห็นตัวอย่างได้จาก Home Group ที่จัดทำกลยุทธ์การสื่อสารโดยใช้ Workplace กลยุทธ์ดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยอิงจากความต้องการและผลลัพธ์ในมุมของพนักงาน ทั้งยังช่วยลดช่องว่างระหว่างพนักงานที่ทำงานจากทางไกลในช่วงล็อกดาวน์ (และระหว่างพนักงานที่ทำงานแบบไฮบริดในช่วงหลังจากนั้นด้วย)
"ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้เราต้องเปลี่ยนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ด้านการสื่อสารภายในของเราอ้างอิงจากความต้องการทางธุรกิจที่ทีมรับมือโควิด-19 เป็นฝ่ายกำหนด" โฆษกขององค์กรการกุศลด้านที่อยู่อาศัยจากสหราชอาณาจักรแห่งนี้กล่าวกับเรา
"เป้าหมายของเราคือการรักษาขวัญกำลังใจและความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนร่วมงาน โดยเราพบว่า การระบาดใหญ่ทั่วโลกในครั้งนี้ได้แบ่งเพื่อนร่วมงานและฐานลูกค้าของเราเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน และการรักษาขวัญกำลังใจของเพื่อนร่วมงานในสถานการณ์ที่แสนจะท้าทายนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก"
แนวทางขององค์กรนี้คือการรักษาขวัญกำลังใจของพนักงานผ่านโปรแกรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีการวางแผนไว้อย่างชัดเจน โดยแผนดังกล่าวประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
การติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ
การอัพเดตข่าวสารเป็นประจำทุกวัน/สัปดาห์
การเปิดโอกาสให้เข้าถึงผู้บริหารได้ง่ายขึ้น
การสื่อสารแบบสองทางที่เปิดกว้าง
โปรแกรมดังกล่าวให้ผลลัพธ์ที่เป็นประจักษ์ องค์กรแห่งนี้ให้ความสำคัญกับเกณฑ์ชี้วัด "ความไว้วางใจ" ซึ่งวัดผ่านแบบสำรวจ Great Place to Work ที่จัดทำเป็นประจำทุกปี โดยในแบบสำรวจปี 2020-2021 เกณฑ์ชี้วัด "ความไว้วางใจ" ของ Home Group เพิ่มสูงขึ้น 6% จากการดำเนินการตามแผนการสื่อสารบน Workplace ของตนเอง1 นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่เราจะได้เห็นการวัดผลนี้ในปีต่อๆ ไป

ก้าวเข้าสู่อนาคตแห่งการทำงาน
สมัครเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากเราเกี่ยวกับอนาคตแห่งการทำงานและอนาคตของเมตาเวิร์ส
เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Meta ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย คุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว