วิธีวัดประสบการณ์ของพนักงาน

คุณภาพประสบการณ์ของพนักงานของคุณอาจส่งผลต่อความสำเร็จของบริษัทอย่างมาก ต่อไปนี้เราจะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจของคุณต้องวัดประสบการณ์ของพนักงานเนื่องด้วยเหตุผลอะไร เมื่อใด และอย่างไร

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
ทำไมจึงต้องวัดประสบการณ์ของพนักงาน

ทำไมจึงต้องวัดประสบการณ์ของพนักงาน

ประสบการณ์ของพนักงาน (EX) ได้กลายเป็นตัวแยกความแตกต่างที่สำคัญในหมู่นายจ้างชั้นนำที่มาพร้อมกับเหตุผลที่ดี ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ของพนักงานเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของพนักงานและอัตราการทำงานต่อกับองค์กรที่ทรงพลังที่สุด

งานวิจัยของ McKinsey รายงานว่าพนักงานที่บอกว่าตนมีประสบการณ์ของพนักงานที่ดีนั้นมีระดับการมีส่วนร่วมมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีถึง 16 เท่า และมีแนวโน้มที่จะทำงานต่อกับบริษัทมากกว่าถึง 8 เท่า

อีกทั้งธุรกิจจำนวน 43% ยังกล่าวด้วยว่าการระบาดใหญ่ทั่วโลกส่งผลกระทบในเชิงลบต่อประสบการณ์ของพนักงาน ดังนั้นแง่มุมนี้จึงเป็นประเด็นที่เราให้ความสำคัญในขณะที่เราสร้าง 'ความปกติรูปแบบใหม่' ให้กับโลกธุรกิจ

เรียนรู้วิธีพลิกโฉมประสบการณ์ของพนักงาน

ดาวน์โหลดคู่มือของเราแล้วเริ่มต้นให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของพนักงานในขณะที่ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการต่อกันได้เลย

ประสบการณ์ของพนักงานเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลและเป็นส่วนตัว แต่คุณก็สามารถเปลี่ยนเรื่องราวของพนักงานแต่ละคนให้เป็นการวัดผลส่วนกลางได้ด้วยการใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม แต่ทำไมเราต้องวัดประสบการณ์ของพนักงานด้วยล่ะ นั่นก็เป็นเพราะการที่คุณสามารถวัดประสบการณ์ของพนักงานออกมาในเชิงปริมาณได้นั้นมีประโยชน์อยู่หลายประการ

  • วัดความคืบหน้าได้ตามกาลเวลา

    คุณสามารถนำการวัดผลที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้มาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความสำเร็จของโปรแกรมด้านประสบการณ์ของพนักงาน พร้อมทั้งช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นเอาไว้ได้ นอกจากนั้นแล้ว การวัดผลดังกล่าวยังสามารถช่วยคุณสังเกตอิทธิพลของสถานการณ์ภายนอกองค์กร เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือค่าครองชีพ ที่ส่งผลต่อพนักงานของคุณ เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการสนับสนุนพนักงานได้อย่างเหมาะสม

  • ค้นหาว่าสิ่งใดใช้ได้ผลและไม่ได้ผล

    ประสบการณ์ของพนักงานประกอบขึ้นจากหลากหลายมิติ เช่น สถานที่ทำงานจริง วัฒนธรรมของบริษัท และความสัมพันธ์กับผู้จัดการ การวัดประสบการณ์ของพนักงานจะช่วยให้คุณเห็นว่าปัจจัยใดที่เป็นตัวขับเคลื่อนประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม และปัจจัยใดที่ควรปรับปรุง

  • เผยแพร่ประเด็นด้านประสบการณ์ของพนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร

    การที่คุณมีการวัดผลที่สะท้อนถึงประสบการณ์ของพนักงานจะช่วยให้คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานได้อย่างเป็นกลางและสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่การแสดงความคิดเห็นไปแบบหลักลอย นอกจากนี้ คะแนนประสบการณ์ของพนักงานยังสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความโปร่งใสแก่ผู้ถือหุ้นและเป็นวิธีบอกถึงสิ่งที่บริษัทของคุณสามารถมอบให้กับผู้ที่มีโอกาสเป็นพนักงานใหม่ได้ หลายบริษัทมีการตรวจสอบและเปรียบเทียบคะแนนประสบการณ์ของพนักงานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในดัชนีประสบการณ์พนักงาน

แล้วถ้าคุณไม่วัดประสบการณ์ของพนักงานล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น ผลก็คือคุณอาจสามารถรักษาประสบการณ์ของพนักงานที่ดีและพนักงานยังคงมีส่วนร่วมอยู่ แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณจะเผยแพร่ประสิทธิภาพของธุรกิจให้โลกรู้ ผลลัพธ์ที่คุณสามารถนำมาเผยแพร่ได้จะทำให้องค์กรของคุณได้เปรียบในการแข่งขันด้านการหาผู้มีความสามารถรายใหม่ๆ และช่วยให้คุณเข้าใจว่าจะรักษาประสบการณ์ของพนักงานให้ดีไปเรื่อยๆ หรือจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

เกณฑ์ชี้วัดสำหรับประสบการณ์ของพนักงาน

เกณฑ์ชี้วัดสำหรับประสบการณ์ของพนักงาน

วิธีวัดประสบการณ์ของพนักงานนั้นจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและแหล่งข้อมูลของบริษัท เกณฑ์ชี้วัดจะแตกต่างกันไป โดยอาจมีตั้งแต่ดัชนีความพึงพอใจของพนักงาน (eNPS) แบบไม่ซับซ้อน ไปจนถึงการวัดผลแบบเจาะลึกผ่านทางแบบสำรวจความพึงพอใจ ความเห็นของพนักงาน และการวิเคราะห์บุคลากรอย่างละเอียด

แม้ว่าเกณฑ์ชี้วัดเพียงตัวเดียวจะบอกภาพรวมคร่าวๆ ของประสบการณ์ของพนักงานได้ แต่ก็มีขอบเขตที่จำกัดมาก ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ของพนักงานนั้นประกอบขึ้นจากหลากหลายปัจจัย และเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ รูปแบบเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่มีความหมายและนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานให้ดีขึ้นได้ คุณควรใช้ระบบที่มีเกณฑ์ชี้วัดอยู่หลายๆ ตัวแทนที่จะใช้เกณฑ์ชี้วัดเพียงหนึ่งหรือสองตัว

คุณจะใช้ระบบของตัวเองหรือจะใช้ระบบ 'สำเร็จรูป' ก็ได้ โดยข้อดีของการใช้ระบบในแบบหลังคือ คุณจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับผลลัพธ์ของบริษัทอื่น ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าบริษัทอยู่ตำแหน่งใดในตลาด

Jacob Morgan ผู้เขียนหนังสือ The Employee Experience Advantage ใช้โมเดลที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งมีเกณฑ์ชี้วัดที่ใช้วัดประสบการณ์ของพนักงานอยู่ 17 ตัว และโมเดลนี้ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของโปรแกรมการวัดประสบการณ์ของพนักงานอย่างรอบด้าน

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

เกณฑ์ชี้วัดเหล่านี้จะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับที่ทำงานจริง โดยจะพิจารณาในแง่มุมต่อไปนี้

  • ที่ทำงานมีพื้นที่ที่เหมาะกับงานประเภทต่างๆ หรือไม่

  • ที่ทำงานมีพื้นที่ที่เหมาะกับงานประเภทต่างๆ หรือไม่

  • พื้นที่ทำงานสะท้อนถึงค่านิยมของบริษัทหรือไม่

สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี

สภาพแวดล้อมนี้จะเน้นไปที่ระบบฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่พนักงานใช้ในการทำงาน โดยจะพิจารณาถึงแง่มุมต่อไปนี้

  • อุปกรณ์ที่ใช้นั้น 'เหมาะกับผู้บริโภคทั่วๆ ไป' หรือไม่ (กล่าวคือ สิ่งที่คุณเลือกที่จะใช้ในชีวิตส่วนตัว)

  • มีเทคโนโลยีที่พร้อมสำหรับทุกคนที่ต้องการใช้งานหรือไม่

  • เทคโนโลยีได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าข้อกำหนดทางเทคนิคและข้อกำหนดทางธุรกิจหรือไม่

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม

เกณฑ์ชี้วัดด้านสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมจะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับวิธีที่พนักงานมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน กับผู้นำ และในอุตสาหกรรมในวงกว้าง ตลอดจนคำนึงว่าค่านิยมขององค์กรมีบทบาทในชีวิตการทำงานประจำวันอย่างไร เกณฑ์ชี้วัดด้านสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมจะพิจารณาถึงแง่มุมต่อไปนี้

  • องค์กรมีการลงทุนกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานหรือไม่

  • ระดับของความหลากหลายและการเปิดกว้างที่พนักงานรับรู้ในที่ทำงาน

  • โอกาสในการพัฒนาและโอกาสที่จะก้าวหน้า

  • พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และเป็นส่วนหนึ่งของทีมหรือไม่

  • เกณฑ์ชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของแบรนด์และการมีเป้าหมายในการทำงาน

  • พนักงานแนะนำให้เพื่อนๆ มาทำงานที่บริษัทหรือไม่

KPI ที่ใช้วัดประสบการณ์ของพนักงาน

KPI ที่ใช้วัดประสบการณ์ของพนักงาน

ไม่ว่าคุณจะใช้เกณฑ์ชี้วัดประสบการณ์ของพนักงานใด ข้อสำคัญคือการระบุตัวขับเคลื่อนพื้นฐานและการสร้าง KPI ที่สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ของพนักงานในบริษัทของคุณ

แม้ว่าคุณจะมี KPI ประสบการณ์ของพนักงานที่สร้างไว้แล้ว แต่คุณก็ควรตรวจสอบ KPI นั้นโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในมุมมองที่กว้างขึ้นเป็นสำคัญ เพราะนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ปัจจัยที่ส่งเสริมประสบการณ์ของพนักงานที่ยอดเยี่ยมนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ พนักงานมุ่งแสวงหาความหมายและการเป็นส่วนหนึ่งจากงานของตนมากขึ้น และการแบ่งขอบเขตระหว่างอาชีพการงานและชีวิตส่วนตัวกลายเป็นเรื่องที่สำคัญรองลงมา McKinsey กล่าวไว้ว่า "พนักงานต้องการความไว้วางใจ ความเป็นเอกภาพในสังคม และคำนึงถึงจุดประสงค์เป็นสำคัญ"

รายงานของ Qualtrics แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนของการมีส่วนร่วมอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของประสบการณ์ของพนักงานในปี 2020 ในปี 2020 นั้น พนักงานมองว่าความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และ CSR ของบริษัทนั้นมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2019 ที่ตัวขับเคลื่อนดังกล่าวคือความเชื่อมั่นในผู้นำและโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา

ต่อไปนี้คือ KPI ทั่วไปที่ใช้วัดประสบการณ์ของพนักงาน และสิ่งที่ KPI นั้นๆ สามารถบอกเกี่ยวกับสภาวะของประสบการณ์ของพนักงานในธุรกิจคุณได้

การรักษาพนักงาน

การลาออกครั้งใหญ่เป็นเหตุให้การรักษาพนักงานให้ทำงานต่อกับองค์กรกลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนายจ้าง เนื่องจากแนวโน้มของการที่พนักงานทยอยย้ายออกไปเรื่อยๆ กำลังเข้ามาขัดขวางการทำงานต่อของพนักงานในช่วงหลังเกิดกระแสปั่นป่วนจากการระบาดใหญ่ทั่วโลก

เมื่อคุณกำหนด KPI การรักษาพนักงาน คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่การลาออกเพียงอย่างเดียว หรือจะถามพนักงานว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะทำงานในบทบาทของตนต่อไปมากน้อยเพียงใด เช่น พวกเขาตั้งใจจะลาออกหรือไม่

แม้จะมีการโต้เถียงกันว่าความตั้งใจที่จะทำงานต่อเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพนักงานจะอยู่กับองค์กรต่อหรือลาออกได้มากน้อยเพียงใด แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าหากพนักงานตั้งใจจะลาออก พนักงานเหล่านั้นจะเลิกมีส่วนร่วมจากบทบาทของตนและองค์กรทั้งในด้านสติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกี่ยวโยงไปถึงคุณภาพของประสบการณ์ของพวกเขาด้วย ทว่าการลาออกก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์เพียงอย่างเดียว เพราะการวัดจำนวนพนักงานที่ลาออกนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกเหตุผลที่พวกเขาลาออก

ประสิทธิภาพการทำงาน

เมื่อประสบการณ์ของพนักงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ผลลัพธ์และการประสบความสำเร็จก็จะดีขึ้นตามไปด้วย การศึกษาเกี่ยวกับพนักงานศูนย์ติดต่อของ Saïd Business School จาก Oxford University พบว่าเมื่อพนักงานรู้สึกมีความสุข ประสิทธิภาพการทำงานจะเพิ่มขึ้น 13% ดังนั้นการวัดประสิทธิภาพการทำงานอาจเป็นส่วนเติมเต็มในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นตัวขับเคลื่อนประสบการณ์ของพนักงาน

การขาดงาน

เนื่องจากการทำงานจากทางไกลกลายเป็นกระแสหลักในปี 2020 ลักษณะของการขาดงานจึงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ตอนนี้เราทราบแล้วว่าการมาปรากฏตัวในที่ทำงานไม่ใช่ข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะบ่งบอกความเป็นเลิศของพนักงาน การศึกษาของ Buffer พบว่า 97% ของพนักงานที่มอบผลลัพธ์ที่น่าประทับใจกล่าวว่าตนจะทำงานจากที่บ้านไปตลอดชีวิตถ้าเป็นไปได้

ซึ่งนั่นหมายความว่าการมาหรือไม่มาปรากฏตัวในที่ทำงานไม่ได้เป็นตัวแยกความแตกต่างที่สามารถใช้วัดการขาดงานได้อีกต่อไป พนักงานอาจกำลังทำงานอยู่ แต่ทำแบบออฟไลน์ หรืออาจจะทำงานทางออนไลน์เมื่อเลิกงานแล้ว อย่างเช่นวลีที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในตอนนี้ที่ว่า "ตอบกลับอีเมลได้ แต่ไม่ได้เชื่อมต่อ Wi-Fi อยู่ตลอดเวลา"

นอกจากนี้ เรายังเห็นแนวโน้มในเรื่องการอนุญาตให้หยุดงานได้แบบไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งหมายความว่าการขาดงานบ่อยครั้งนั้นอาจไม่ได้เป็นสัญญาณเตือน แต่อาจเป็นสัญญาณในเชิงบวกหรือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ร้ายแรงอะไร บริษัทต่างๆ ที่สนใจเกี่ยวกับ KPI ประสบการณ์ของพนักงานอาจประสบความสำเร็จในการวัดจำนวนวันลาป่วยของพนักงานทั้งหมดมากกว่าที่จะติดตามการขาดงาน เนื่องจากการขาดงานนั้นอาจสะท้อนถึงระดับความเครียดที่สูงหรือวัฒนธรรมในที่ทำงานที่ไม่ดี

การเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงาน

หากผู้คนเติบโตขึ้นในองค์กรของคุณ พวกเขาไม่เพียงแต่จะอยู่กับคุณในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังพัฒนาอาชีพไปพร้อมกับคุณและเพิ่มพูนทักษะทางด้านอาชีพของตัวเองไปในเวลาเดียวกันด้วย การเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงานเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณกำลัง 'เพิ่มจำนวนพนักงานผู้มากความสามารถด้วยตัวเอง' โดยที่ไม่ต้องจ้างและฝึกอบรมพนักงานใหม่

การตั้งเป้าหมายประเภทนี้ให้เป็นหนึ่งใน KPI ของคุณอาจช่วยสะท้อนให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานได้ ดังนั้นการนำข้อมูลการเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงานมาผสมผสานเข้ากับข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ อย่างคำติชมเชิงคุณภาพจากพนักงาน ก็จะทำให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุด

ความพึงพอใจ

ความพึงพอใจในการทำงานมักจะใช้ในความหมายเดียวกันกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ทว่าทั้งสองอย่างนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ความพึงพอใจในการทำงานนั้นจะพิจารณาว่าพนักงานสนุกกับงานประจำวันมากน้อยเพียงใด ในขณะที่การมีส่วนร่วมของพนักงานมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยจะครอบคลุมทั้งเรื่องงานประจำวันและประเด็นที่เป็นภาพรวมมากขึ้น เช่น ค่านิยมของบริษัทและความภักดี Gallup นิยามการมีส่วนร่วมไว้ว่า 'ความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมในการทำงานและในที่ทำงานของพนักงาน'

การใช้ความพึงพอใจเป็น KPI หนึ่งจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานในแง่มุมต่างๆ เช่น พื้นที่สำหรับการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนคุณภาพของความสัมพันธ์กับผู้จัดการและเพื่อนร่วมงาน เมื่อคุณต้องพิจารณาถึงวิธีวัดความพึงพอใจของพนักงาน ให้ลองใช้ช่องทางที่ไม่เปิดเผยตัว เช่น แบบสำรวจออนไลน์และกล่องข้อความสำหรับให้ข้อเสนอแนะ เนื่องจากจะทำให้พนักงานมีอิสระในการให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา

สุขภาวะ

การกำหนดระดับของสุขภาพจิตและสุขภาพกายเป็น KPI หนึ่งนั้นควรจะอาศัยข้อมูลที่พนักงานรายงานด้วยตนเองผ่านทางแบบสำรวจมากกว่าข้อมูลจากการตรวจสอบบันทึกการลาป่วยและข้อมูลสุขภาพที่ไม่เปิดเผยตัวตนจากผู้ให้บริการด้านประกัน

สิ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและคลุมเครืออย่างสุขภาวะนั้นอาจฟังดูไม่น่าจะเป็น KPI ที่หวังผลได้ เนื่องจากนำไปเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่จับต้องได้ค่อนข้างยาก ทว่า CIO ก็พบว่าการมีสุขภาวะที่ดีในระดับสูงก็อาจส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์ของพนักงานในด้านอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมด้วย

ความรู้สึกโดยรวม

พนักงานรู้สึกอย่างไรที่ได้ทำงานกับคุณ แล้วคุณมีการติดตามและวัดอารมณ์ของพนักงานอย่างไร จนกระทั่งตอนนี้ การเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นส่วนตัวให้เป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานนั้นก็ยังดูไม่น่าจะเป็นไปได้เลย แต่เทคโนโลยีอาจให้คำตอบนั้นแก่คุณได้

ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความรู้สึกโดยรวมจะช่วยเปลี่ยนอารมณ์ของพนักงานเป็น KPI อันมีค่าสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับองค์กร การวิเคราะห์ความรู้สึกโดยรวมจะได้รับการตีความออกมาเป็นภาษาเขียนและภาษาพูดในลักษณะที่เหมือนมนุษย์ได้ด้วยการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ซึ่งนั่นหมายความว่าพนักงานสามารถแสดงความรู้สึกออกมาด้วยคำพูดของตนเองได้โดยไม่ต้องกรองการโต้ตอบผ่านการสนทนากับผู้จัดการหรือแปลงความรู้สึกที่หลากหลายและซับซ้อนออกมาเป็นคะแนนตัวเลข

เนื่องจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์ความรู้สึกโดยรวมมีการใช้อัลกอริทึม ดังนั้นจึงสามารถใช้อัลกอริทึมเรียนรู้วิธีวัดความรู้สึกโดยรวมของพนักงานได้ พร้อมกับปรับความรู้สึกนั้นให้เข้ากับคำศัพท์และรายละเอียดของวัฒนธรรมของพนักงานที่ไม่เหมือนใครไปเรื่อยๆ ในขณะที่คุณใช้งาน

ไม่ว่าคุณจะใช้เกณฑ์ชี้วัดและวิธีการใด โปรแกรมการวัดผลจะช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งคาดเดาการปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้คุณสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้

หัวข้อที่คุณอาจสนใจ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

งานเสวนาออนไลน์: เคล็ดลับสำคัญในการจัดทำกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ของพนักงาน (EX)

ลงทะเบียนเลย

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

งานเสวนาออนไลน์: เคล็ดลับสำคัญในการจัดทำกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ของพนักงาน (EX)

ลงทะเบียนเลย

โพสต์ล่าสุด

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

คำถามสำหรับแบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน: ควรถามอะไรและเพราะเหตุใด

คุณจะสร้างประสบการณ์ของพนักงานให้ออกมาดีเลิศได้อย่างไรหากคุณไม่สามารถวัดผลสิ่งเหล่านี้ได้ มาเรียนรู้วิธีใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรของคุณไปด้วยกัน

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 6 นาที

เสียงของพนักงาน: การรับฟังจะช่วยให้คุณสามารถสร้างวัฒนธรรมและคว้าตัวผู้มีความสามารถมาได้อย่างไร

องค์กรต่างๆ ล้วนกำลังมองหาวิธีที่จะดึงดูดและรักษาพนักงานที่เก่งที่สุดของตนเอาไว้เมื่อต้องเผชิญกับการลาออกครั้งใหญ่ นี่คือเหตุผลที่การรับฟังอาจเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จนั้น