ที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตย

ผู้เขียนรับเชิญอย่าง Ben Eubanks จะพาเราไปสำรวจว่าที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยสามารถบ่มเพาะความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและฟูมฟักนวัตกรรมในองค์กรของคุณได้อย่างไรและเพราะเหตุใด

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 6 นาที
A democratic workplace - Workplace from Meta
Ben Eubanks
Chief Research Officer, Lighthouse Research & Advisory
"ฐานข้อมูลไอเดียขนาดใหญ่"

"ฐานข้อมูลไอเดียขนาดใหญ่"

ฟังดูเป็นชื่อหัวข้อที่เล่นใหญ่เกินไปหรือเปล่าครับ ไม่ใช่ไหม ก่อนหน้านี้ผมเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบุคคลของบริษัทให้บริการด้านซอฟต์แวร์และการฝึกอบรมมาก่อน เราตั้งใจจะให้สิ่งนี้เป็นพื้นที่ให้พนักงานได้แชร์ไอเดียและข้อเสนอแนะต่างๆ ช่วยให้เรามีพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน ซึ่งคล้ายกับกล่องรับข้อเสนอแนะทั่วๆ ไป แต่ที่ต่างกันก็คือ ไอเดียทั้งหมดจะต้องผ่านจุดการตัดสินใจและการทบทวนเพื่อพิจารณาประเด็นต่างๆ ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีความเฉพาะเจาะจงและโปร่งใสอย่างมาก

ตอนที่ผมยังทำงานอยู่ที่นั่น ศูนย์แห่งนี้ได้รับไอเดียหลากหลายพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าไอเดียส่วนใหญ่มักเป็นอะไรที่ซ้ำซากจำเจ จึงไม่แปลกอะไรหากจะมองว่าพื้นที่นี้เป็นแค่แหล่งรวมไอเดียที่ถูกปัดตกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีบางคนที่มีไอเดียเจ๋งมากๆ ด้วยเช่นกัน สมาชิกในทีมคนหนึ่งเสนอความเห็นว่า หากเรานำหนึ่งในข้อเสนอที่มีอยู่มาปรับโมเดลราคา เราจะสามารถลดต้นทุนการพัฒนาและมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งหลังจากที่เราปรับตามข้อเสนอนี้ การตัดสินใจดังกล่าวก็กลายเป็นแหล่งรายได้มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ให้กับบริษัท

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเคล็ดลับมืออาชีพทั้ง 6 ข้อเพื่อค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร

สิ่งสำคัญที่สุดที่เราได้รับจากประสบการณ์ครั้งนั้นไม่ใช่แค่ผลลัพธ์ทั้งหมดเพียงอย่างเดียว แม้ว่าผลลัพธ์เหล่านั้นจะมีความสำคัญเมื่อมองในภาพรวมก็ตาม แต่บทเรียนที่สำคัญที่สุดคือคนเราต้องการคนคอยรับฟัง ต้องการให้ผู้อื่นเชื่อมั่นและนำไอเดียของตนไปพิจารณาต่อ

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานในปัจจุบัน การปฏิบัติตามแนวคิดประชาธิปไตยในที่ทำงานนั้นไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดไอเดียและนวัตกรรม แต่ยังสร้างความมั่นใจด้วยว่าผู้คนจะรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย

สิ่งจำเป็นในการสร้างที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตย

สิ่งจำเป็นในการสร้างที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตย

ความสำเร็จที่ว่ามานี้เกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัย หาใช่การสร้างกล่องรับข้อเสนอแนะในที่ทำงานหรือบนโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียว ซึ่งหากคุณต้องการให้องค์กรยึดมั่นในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นธรรม การเปิดกว้าง และการเคารพซึ่งกันและกันจริงๆ แล้วล่ะก็ คุณก็จำเป็นต้องเริ่มลงมือทำจากบนลงล่าง ทั้งนี้ หนังสือ The Front-Line Leader ของ Chris Van Gorder ซีอีโอของบริษัท Scripps Health ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำที่ "ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป" ไว้บางส่วน

หลายๆ คนต่างก็เคยมีประสบการณ์นี้ในที่ทำงานกับผู้นำที่ห่างเหิน ปลีกตัวออกจากพนักงาน และมักจะ "ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป" เป็นครั้งคราวเพียงเพื่อจะมาดูแค่กล่องรับข้อเสนอแนะ แม้ว่าที่จริงแล้วคนเหล่านี้จะไม่ได้สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่คนอื่นต้องการแสดงออกเลยก็ตาม ซึ่งจากประสบการณ์ของ Van Gorder ผู้นำที่ปฏิบัติเช่นนี้คือผู้ที่กำลังทำร้ายทีมผ่านการกระทำดังกล่าวเสียเอง เพราะการกระทำเช่นนั้นคือการตอกย้ำกับพนักงานว่าการที่ผู้นำจะปรากฏตัวให้พวกเขาได้เห็นนั้นเป็นเรื่องยากเอามากๆ

กลับกัน ที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยต้องการผู้นำที่ดูแลเอาใจใส่และรักษามาตรฐานด้านความไว้วางใจ ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส รวมถึงไม่คาดหวังให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่พวกเขาจะไม่มีวันทำ โดยสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้จากการเป็นคนเปิดกว้างและให้ข้อมูลต่างๆ เท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้ ในงานวิจัยของเรา เราได้พัฒนากรอบการทำงานเพื่อความโปร่งใสขึ้น ซึ่งเหมาะแก่การนำมาพูดถึง ณ ที่นี้ กรอบการทำงาน PRESS นี้เป็นคู่มือสำหรับผู้นำที่ต้องการดำเนินงานในองค์กรด้วยความเปิดกว้างและความเป็นธรรม โดยสาระสำคัญของกรอบการทำงานนี้ได้แก่

Process (กระบวนการ): การมีกระบวนการที่ระบุไว้อย่างชัดเจนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการดำเนินการแบบไม่บอกผู้อื่นที่ใครๆ ต่างก็ไม่เชื่อมั่นในผลลัพธ์หรือการตัดสินใจ

Range (ช่วง): กำหนดความคาดหวังหรือกรอบในการตัดสินใจที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้

Equity (ความเท่าเทียม): ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม ทุกคนในองค์กรควรรับรู้ถึงความตั้งใจนี้ได้อย่างชัดเจน

Stretch (ความยืดหยุ่น): มองหาสิ่งใหม่ๆ มาแชร์กับผู้อื่นอยู่เสมอและยึดหลักความโปร่งใส เว้นแต่จะมีเหตุผลที่ชัดเจนและทำให้เชื่อว่าการกระทำเช่นนั้นจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

Solicit (การร้องขอ): การขอความเห็นและข้อมูลจากพนักงานจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรของคุณให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่ท้าทายอย่างความเป็นธรรมในที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา

“ที่ทำงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยต้องการผู้นำที่ดูแลเอาใจใส่และรักษามาตรฐานด้านความไว้วางใจ ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส”

ผู้นำที่ปฏิบัติตามกรอบการทำงานนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความคาดหวังด้านการเปิดกว้างและความโปร่งใส เนื่องจากข้อมูลยังระบุอีกด้วยว่า ทั้งสองปัจจัยนี้ช่วยเพิ่มความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมภายในองค์กร (ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นเชื่อมโยงกับการรักษาพนักงานเอาไว้ ประสิทธิภาพการทำงาน ผลิตภาพ และเกณฑ์ชี้วัดที่พึงประสงค์อื่นๆ) ด้วยเช่นกัน

เมื่อพูดถึงเกณฑ์ชี้วัดที่พึงประสงค์ เราลองมาปฏิบัติตามบุคคลหนึ่งที่ทำงานราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพกัน จากการพูดคุยกันครั้งล่าสุด Alex Smith ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (CHRO) ของเมืองเมมฟิส บอกกับผมว่า ตลอดระยะเวลาที่เธอดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบันนี้ การมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่สุดสำหรับแผนกของเธอ

เธอกล่าวว่า "ตอนที่ฉันเข้ารับตำแหน่งนี้ [ฉันและท่านนายกเทศมนตรี] เรามีภาพเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายในฐานะผู้นำของแผนกนี้ที่ชัดเจนมาก ฉันคิดว่าผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลทุกคนจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการทางธุรกิจที่มีความสำคัญกับองค์กรที่คุณทำงานอยู่อย่างแท้จริง รวมไปถึงหน้าที่ของตัวเองที่มีต่อเป้าหมายนั้นด้วย"

ทั้งหมดนี้ล้วนขึ้นอยู่กับว่าผู้นำมองสิ่งใดว่าเป็นเป้าหมายของตนเองในที่ทำงาน ซึ่งหากเป้าหมายนั้นคือการสร้างที่ทำงานที่พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและได้รับการชื่นชม รวมถึงตั้งใจทำงานอย่างสุดความสามารถ คุณก็จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากและมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นจริง

เส้นทางสู่ความสับสนอลหม่านหรือความมุ่งมั่นตั้งใจกันแน่

เส้นทางสู่ความสับสนอลหม่านหรือความมุ่งมั่นตั้งใจกันแน่

ต้องยอมรับว่าแนวคิดการทำให้ที่ทำงานมีความเป็นประชาธิปไตยที่ซึ่งเสียงของทุกคนมีความหมายนั้นอาจทำให้รู้สึกถึงความสับสนอลหม่านได้ ทั้งนี้ ข้อมูลของเราชี้ให้เห็นว่า พนักงานต่างจัดลำดับความสำคัญให้กับการทำงานแตกต่างกันอย่างมาก บางคนให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ ในขณะที่คนอื่นๆ ให้ความสำคัญกับสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงาน อันที่จริงแล้ว ไม่มีกลุ่มอายุในที่ทำงานในปัจจุบันกลุ่มใดที่จัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากการทำงาน 2 อันดับแรกได้เหมือนกันเลย! ถ้าอย่างนั้นแล้ว สิ่งใดกันที่ทำให้เกิดความแตกต่างเหล่านี้

นายจ้างมีเวลา เงิน และความสนใจมากมายเช่นเดียวกับสังคมในระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย ทว่าเราสังเกตเห็นจากงานวิจัยของเราหลายครั้งมากว่า การตัดสินใจต่างๆ ในระดับบริษัทมักไม่ได้นำความเห็นของพนักงานมาพิจารณาด้วย ทั้งที่ความเห็นของพนักงานควรเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเสียงของคนคนนั้นได้รับการรับฟัง พวกเขาก็จะยิ่งทุ่มเทกับผลลัพธ์มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มาจากการคาดเดาแต่อย่างใด แต่เป็นข้อบ่งชี้จากงานวิจัย มีโครงการวิจัยที่น่าสนใจโครงการหนึ่งที่ผมอ้างอิงในหนังสือของตัวเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการที่เข้ากับหัวข้อพูดคุยในวันนี้มากเลยทีเดียว งานวิจัยดังกล่าวจัดทำขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้และมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำจากอัลกอริทึม โดยนักวิจัยพบว่า คนเราไม่ได้เชื่อคำแนะนำของอัลกอริมทึมที่ตนพบเห็นเป็นครั้งแรกเสมอไป แต่หากคนคนนั้นสามารถป้อนไอเดีย ลำดับความสำคัญ หรือข้อกังวลลงในอัลกอริทึมที่ทำหน้าที่ตัดสินใจได้ พวกเขาก็มีแนวโน้มจะเชื่อมั่นและสนับสนุนผลลัพธ์ที่ได้มากขึ้น แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่ได้เปลี่ยนการแนะนำของอัลกอริทึมอย่างมีนัยสำคัญเลยก็ตาม!

เหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความจริงที่ว่า คนเราต่างก็มีความต้องการภายในที่จะให้ผู้อื่นคอยรับฟังเรา ซึ่งหากคุณเคยพยายามพูดสิ่งที่ตัวเองคิดในระหว่างที่ประชุม แม้จะรู้ดีว่าการกระทำนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงการตัดสินชี้ขาดแต่อย่างใด ผมเชื่อว่าคุณน่าจะเข้าใจสิ่งที่ผมพูดถึงอยู่นี้ คนเราต้องการพูดในสิ่งที่เราคิดและต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ถึงสิ่งเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากคำพูดของ Chief People Officer จากบริษัทเทคโนโลยีรายหนึ่งที่ได้กล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า "เราทุกคนต่างก็ต้องการมีตัวตน มีคนคอยรับฟัง และได้รับการยอมรับ"

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

การพิจารณาถึงประชาธิปไตยในที่ทำงานในแง่ของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก

การพิจารณาถึงประชาธิปไตยในที่ทำงานในแง่ของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก

การพูดคุยเรื่องการสร้างที่ทำงานที่เปิดกว้างมักจะมุ่งความสนใจไปที่ "การเป็นตัวเองอย่างแท้จริงในที่ทำงาน" ซึ่งแทบจะกลายเป็นอะไรที่เราฟังจนเบื่อไปแล้ว ณ จุดนี้ แต่อย่าเพิ่งเบื่อกันเลยนะครับ

นักประสาทวิทยารู้ว่าสมองของคนเราถูกกำหนดมาให้คอยมองหาสิ่งอันตรายอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นลักษณะนิสัยที่มีโดยธรรมชาติและส่งผลต่อความสามารถทางจิตใจของเรา เมื่อเราไปถึงที่ทำงานและรู้สึกว่าเสียงของเราไม่มีความหมายหรือการลงความเห็นของเราไม่ได้ถูกนำไปนับรวมด้วย สมองก็จะคิดว่าสิ่งนี้เป็นอันตรายประเภทหนึ่ง แต่หากเราทำงานในที่ที่สามารถแชร์ไอเดีย สร้างนวัตกรรม รวมถึงมีคนรับฟังและได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สิ่งนี้ก็จะช่วยปลดล็อกสมองส่วนดังกล่าวที่กังวลเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ ความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยาเช่นนี้คือวิธีที่เราจะสามารถเป็นตัวของตัวเองในที่ทำงานได้อย่างแท้จริง

ผมขอปิดท้ายด้วยข้อโต้แย้งอีกหนึ่งชิ้น Scott Page กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งในหนังสือ The Difference ของเขา โดยงานวิจัยชิ้นดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ความหลากหลายในการตัดสินใจนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ได้ ทว่าสิ่งนี้อาจไม่ได้ตรงกับที่คุณคิด งานวิจัยดังกล่าวเผยว่า หากกลุ่มคนที่มีความหลากหลายนั่งอยู่ในห้องที่ต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง แม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะไม่พูดอะไรออกมาเลย แต่คนอื่นๆ ที่อยู่ในห้องนั้นจะตัดสินใจต่างไปจากเดิม เนื่องจากมีบุคคลอื่นที่มีลักษณะ ท่าทาง และ/หรือความคิดที่ต่างไปจากตนเองนั่งอยู่ในห้องนั้นด้วย

เห็นได้ชัดว่า เราต้องการให้ทุกคนกล้าแสดงออก (และรู้สึกสบายใจที่จะทำเช่นนั้น) เพราะสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของประเด็นโต้แย้งในภาพรวม อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยเมื่อเสียงของทุกคนควรค่าแก่การนำมาตัดสินใจ คนเราก็จะตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ต่างไปจากเดิม

เรามักจะพูดกันว่า "หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว" ดังนั้น การที่เราสามารถดึงความคิดสร้างสรรค์ พลังงาน และความมุ่งมั่นของทุกคนในที่ทำงานมาใช้ได้นั้นถือได้ว่าเป็นความพยายามที่คุ้มค่าและยิ่งใหญ่ ประชาธิปไตยในที่ทำงานจึงเป็นแนวคิดที่ทรงพลังและเป็นแนวคิดที่นายจ้างที่มีหัวก้าวหน้าพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในขณะที่ตนเองพยายามสร้างความโดดเด่นเพื่อหวังจะดึงดูดและรักษาพนักงานที่ทำงานได้ดีที่สุดเอาไว้

ทักษะต่างๆ ในอนาคต

เราขอแนะนำให้คุณลองรับชมคลิปวิดีโอนี้ที่ Ben จะมาพูดคุยถึงคุณลักษณะพื้นฐานของทักษะที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในโลกยุคดิจิทัลเพื่อเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม หรือคุณจะรับชมการพูดคุยแบบจัดเต็ม 30 นาทีที่เขาจะพาเราไปสำรวจทักษะการทำงานในอนาคตก็ได้เช่นกัน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เหตุใดความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกจึงมีความสำคัญ

เรียนรู้เพิ่มเติม
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เหตุใดความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกจึงมีความสำคัญ

เรียนรู้เพิ่มเติม

โพสต์ล่าสุด

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 11 นาที

วัฒนธรรมในที่ทำงาน: วิธีสร้างวัฒนธรรมเชิงบวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

วัฒนธรรมในที่ทำงานมีความสำคัญยิ่งขึ้นในโลกของการทำงานแบบผสมผสานและการทำงานทางไกล ร่วมหาคำตอบว่าวัฒนธรรมในที่ทำงานคืออะไรและคุณจะสามารถปรับปรุงวัฒนธรรมนี้ได้อย่างไร

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

ค่านิยมขององค์กรคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญ

ค่านิยมขององค์กรสามารถชี้นำทิศทางแก่พนักงานและให้เหตุผลที่จะเชื่อมั่นแก่ลูกค้า เรามาดูวิธีพัฒนาและสื่อสารค่านิยมขององค์กรกัน

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วัฒนธรรมองค์กร 4 ประเภท: แบบใดดีที่สุดสำหรับธุรกิจ

ตัวตนของธุรกิจเป็นการผสมผสานที่ไม่เหมือนใครของวัฒนธรรมต่างๆ ขององค์กร ดูว่าคุณจะค้นหาตัวตนของธุรกิจและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวตนนั้นได้อย่างไร