พนักงานต้องการอะไรกันแน่ นี่คือ 9 ประเด็นสำคัญที่คุณต้องใส่ใจ

การจ้างงานได้ถูกเปลี่ยนแปลงนิยามไปตั้งแต่รากฐานขึ้นมาเลยทีเดียว โดยไม่ใช่แค่จากการระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งล่าสุดเท่านั้น แต่ยังมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมด้วย แล้วงานที่ดีในปัจจุบันเป็นอย่างไร และองค์กรจะมอบงานเหล่านี้ได้อย่างไร

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
ความคาดหวังของพนักงานเปลี่ยนไปอย่างไร

ความคาดหวังของพนักงานเปลี่ยนไปอย่างไร

การเลือกนายจ้างเคยเป็นการตัดสินใจที่ต้องทำเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะการทำงานกับบริษัทเดียวตลอดทั้งชีวิตไม่ใช่แบบแผนอีกต่อไปแล้ว แต่ในยุคที่งานกับชีวิตเกี่ยวพันกันอย่างชิดใกล้นี้ การเลือกคนที่คุณจะทำงานให้ก็ยังคงสำคัญอย่างยิ่ง

สถานที่ทำงานในทุกวันนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ในโลกจริงที่คุณใช้เวลาบางส่วนของแต่ละสัปดาห์เท่านั้น พวกเราหลายคนไม่ได้ "ไปทำงาน" ที่ออฟฟิศอีกต่อไป แต่เข้าสู่ระบบสถานที่ทำงานซึ่งสามารถอยู่กับเราได้ทุกที่ทุกเวลาแทน เส้นแบ่งระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวจึงเลือนรางลงเรื่อยๆ

ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างเรากับงานได้นำมาสู่ความเอาใส่ใจมากขึ้นต่อผลกระทบที่งานมีต่อชีวิตของเรา ไม่ใช่ต่อเงินในบัญชีเพียงอย่างเดียว พนักงานเป็นมากกว่าแค่หน่วยเศรษฐกิจ และนายจ้างก็เป็นมากกว่าแค่แหล่งรายได้ของบุคคล จากข้อมูลของ Gartner พนักงาน 82% เห็นด้วยว่าองค์กรควรจะมองว่าตนเป็นบุคคล ไม่ใช่แค่พนักงาน

แม้ว่าจะมีการหยิบยกเรื่องการเปลี่ยนแปลงของความหมายที่งานมีต่อเรามาพูดกัน แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นเพียงกระแสชั่วคราว ทว่าทั้งหมดนี้ชี้ทางไปสู่อนาคตของการทำงานที่นายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนและชีวิตคนอื่นมากขึ้น รวมถึงวิธีการทำงานที่มีเทคโนโลยีเกื้อหนุนและขับเคลื่อนด้วยค่านิยมทางจริยธรรม

แล้วเรื่องนี้มีผลกระทบต่อนายจ้างอย่างไร ธุรกิจที่ต้องการสรรหาบุคลากร มีส่วนร่วม และรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้จำเป็นต้องมอบประสบการณ์ของพนักงานที่น่าดึงดูดใจในหลายระดับ ทั้งด้านอารมณ์ จริยธรรม สังคม และเศรษฐกิจ งานที่ยอดเยี่ยมจะสร้างจุดมุ่งหมาย สอดคล้องกับค่านิยม การพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาวะ และแน่นอนว่าต้องมีค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ไม่น้อยกว่าองค์กรอื่น

ขจัดปัญหาในที่ทำงานด้วย Workplace

ไม่ว่าคุณจะต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับการกลับสู่ที่ทำงาน หรือนำวิธีการทำงานแบบผสมผสานไปปรับใช้ Workplace ก็สามารถทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้

พนักงานให้คุณค่ากับอะไรมากที่สุด

พนักงานให้คุณค่ากับอะไรมากที่สุด

พนักงานแต่ละคนไม่เหมือนกัน และต่างมีความคิดหลากหลายเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการได้รับจากงาน ตามอุดมคติแล้ว นายจ้างจะสามารถปรับประสบการณ์ของพนักงานให้เหมาะกับทุกคนได้ แต่ส่วนมากจะทำไม่ได้จริง อย่างไรก็ตาม มีหลายสิ่งสำคัญที่พนักงานส่วนใหญ่ดูจะให้คุณค่าสูง และสิ่งเหล่านี้ควรเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้พนักงานมีส่วนร่วมและรู้สึกได้รับการเติมเต็ม

1. การมุ่งเน้นสุขภาวะ

สุขภาวะของพนักงานทั้งทางร่างกายและจิตใจกลายเป็นประเด็นหลักสำหรับนายจ้างตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 การเอาใส่ใจสุขภาวะให้ได้อย่างถูกต้องนั้นต้องปลูกฝังแนวคิดนี้ในวัฒนธรรมของคุณ ไม่ใช่แค่ลงทุนกับสวัสดิการเสริม อย่างอาหารเช้าพนักงานหรือเซสชั่นทำสมาธิเท่านั้น (แม้ว่าถ้ามีก็ดี)

พนักงานต้องการเห็นนายจ้างมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสุขภาพ ความสุข และความพึงพอใจในที่ทำงานของลูกจ้าง ซึ่งก็สามารถควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาพนักงาน รวมถึงความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกได้

โพลล์ล่าสุดของ Gallup ชี้ว่าการมีนายจ้างที่ใส่ใจในสุขภาวะเป็นหนึ่งในเกณฑ์ 3 อันดับแรกที่ผู้คนทุกวัยต้องการในงาน และสำหรับผู้หางาน Gen Z แล้ว เกณฑ์ข้อนี้คืออันดับหนึ่งเลยทีเดียว ความใส่ใจที่แท้จริงนี้ต้องนำไปปฏิบัติผ่านการรับฟังพนักงานและสังเกตลักษณะความเป็นอยู่ในชีวิตการทำงานของทุกคน

2. การจัดตำแหน่งงานตามค่านิยมแท้จริง

พนักงานที่เห็นว่างานของตนสัมพันธ์กับค่านิยมส่วนตัวมักมีแนวโน้มที่จะสนุกและมีส่วนร่วมกับงานนั้นมากขึ้น นี่หมายความว่านายจ้างไม่ใช่แค่ต้องจ้างงานเพื่อให้ค่านิยมส่วนตัวตรงกับค่านิยมขององค์กรมากที่สุด แต่ยังต้องแน่ใจว่าค่านิยมเหล่านั้นมีอยู่จริงในวัฒนธรรมของบริษัทด้วย

วัฒนธรรมเชื่อมโยงกับจริยธรรมอย่างใกล้ชิด การศึกษาโดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติพบว่า 85% ของซีอีโอเชื่อว่าวัฒนธรรมที่ไม่ดีนำไปสู่การประพฤติผิดจรรยาบรรณ และในการศึกษาเดียวกัน มีเพียง 16% เท่านั้นที่เชื่อว่าวัฒนธรรมของตนถูกต้องตามที่ควร

บทเรียนก็คือ บริษัทควรสร้างวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนโดยค่านิยมซึ่งส่งเสริมการจัดสรรงานให้เข้ากับตัวพนักงาน

3. ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก

ในช่วงที่เกิดความวุ่นวายทางสังคมในปี 2020 ธุรกิจจำนวนมากแสดงคำมั่นชัดเจนว่าจะเพิ่มโอกาสการจ้างงานและประสบการณ์ในที่ทำงานสำหรับคนหลากหลายกลุ่ม รวมถึงคนที่มีพื้นเพมาจากกลุ่มคนชายขอบ

และจากข้อมูลของ Deloitte คำมั่นเหล่านี้ก็ยังคงมีความสำคัญไม่แปรเปลี่ยน อีกทั้งยังมีนัยใหม่สำหรับพนักงาน ว่าสามารถไว้วางใจให้ธุรกิจทำตามคำมั่นสัญญาทั้งหลายได้หรือไม่เมื่อเวลาผ่านมาระยะหนึ่งแล้ว

Deloitte สำรวจพนักงานประมาณ 1,500 คนที่มาจากชนกลุ่มน้อยและ/หรือมีลักษณะที่ได้รับการคุ้มครอง และพบว่า 80% รู้สึกว่าตนเชื่อมั่นได้ว่านายจ้างจะทำตามคำมั่นเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต้องพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามาตรฐานเหล่านี้ให้สูงเข้าไว้

4. การฝึกอบรมและการพัฒนา

นายจ้างและลูกจ้างกำลังปรับมุมมองที่มีต่อการฝึกอบรมเสียใหม่ การพัฒนาอาชีพและการฝึกอบรมกำลังผสานเข้ากับชีวิตการทำงานและความสัมพันธ์ในการทำงานมากขึ้น แทนที่จะเพิ่มเข้ามาในรูปแบบของการฝึกอบรมหรือหลักสูตรโดยบุคคลที่สาม

การฝึกสอนเป็นรูปแบบการพัฒนาต่อเนื่องที่สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรได้ วัฒนธรรมการฝึกสอนสามารถมีส่วนช่วยในด้านอื่นๆ ที่สำคัญของพนักงาน เช่น ความยืดหยุ่นปรับตัว สมดุลในชีวิตการทำงาน และความพึงพอใจในงาน

เทคโนโลยีเองก็มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และการพัฒนาได้เช่นกัน โดยการเรียนรู้แบบสมจริงด้วย VR สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงการฝึกอบรมทางไกลได้ และเครื่องมือ AR ก็ช่วยให้พนักงานได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้ตามบริบท

5. สมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น

แม้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นระหว่างชีวิตกับการทำงานจะให้ประโยชน์มากมาย แต่ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประสบการณ์ของพนักงานที่ "ทำงานตลอด" ได้ นายจ้างต้องรอบคอบในการทำให้พนักงานรู้สึกว่าสามารถหยุดทำงานได้เมื่อถึงเวลาเลิกงาน และจัดสมดุลระหว่างความสำคัญส่วนตัวและภาระหน้าที่พนักงาน

เมื่อมองในแง่ดี แนวคิดใหม่ที่มองพนักงานในฐานะคนหนึ่งคนแทนที่จะเป็นเพียงบทบาทหน้าที่ ก็ทำให้ความมุ่งมั่น สุขภาพ และความสนใจส่วนตัวของพนักงานมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะนายจ้างที่ยอมรับความต้องการของผู้คนที่อยากมีสมดุลในชีวิตมีแนวโน้มมากกว่าที่จะดึงดูดและรักษาพนักงานที่ดีเยี่ยมเอาไว้ได้

6. การชมเชย

ความจำเป็นในการได้รับค่าจ้างอย่างยุติธรรมเพื่อตอบแทนการทำงานได้ดีเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง ค่าจ้างและสวัสดิการมีความสำคัญมากขึ้นต่อพนักงานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยิ่งเป็นเช่นนั้นเพราะแรงกดดันทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจของ Gallup ในปี 2022 แสดงให้เห็นว่าพนักงาน 64% ถือว่าค่าจ้างและสวัสดิการเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2015

ค่าตอบแทนเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานที่คุ้มค่า แต่เพื่อนร่วมงานและผู้จัดการก็ต้องเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านการสื่อสารและการยกย่องความพยายามด้วย โดยอาจเป็นการชมเชยแบบซึ่งหน้า หรือผ่านแชทหรือแพลตฟอร์ม HR ก็ได้

7. การสื่อสารที่ดี

การสื่อสารเป็นสิ่งที่พนักงานต้องการมากที่สุดระหว่างการระบาดใหญ่ทั่วโลก และการให้ข่าวสารอยู่เสมอก็ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในตอนนี้ที่คนจำนวนมากทำงานจากทางไกล การสื่อสารที่ดีจากผู้นำและผู้บริหารจะช่วยจูงใจพนักงาน เพิ่มความพึงพอใจในงาน และลดความขัดแย้ง แต่การสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพอาจส่งผลเสียได้โดยเฉพาะกับพนักงานที่ทำงานทางไกล

จากการศึกษาที่ดำเนินโดย Forbes พนักงานทางไกลที่ตอบแบบสอบถาม 54% กล่าวว่าการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจในผู้นำ ขณะที่ 52% กล่าวว่าส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจในทีม นายจ้างจึงต้องรักษาหลักปฏิบัติที่ดีที่มาจากช่วงการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยมีหาเวลามาพูดคุยกับทีมและพนักงานรายคนเป็นประจำ

8. ความโปร่งใสจากนายจ้าง

ผลสำรวจของ Glassdoor ระบุว่าพนักงาน 1 ใน 3 ต้องการความโปร่งใสมากขึ้นจากนายจ้าง สิ่งนี้อาจหมายถึงการเพิ่มความชัดเจนในเป้าหมายทางธุรกิจและความคืบหน้าสู่เป้าหมาย หรือความโปร่งใสในแนวปฏิบัติด้านค่าจ้างหรือการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม

การมอบความโปร่งใสนั้นทำได้ง่ายสำหรับธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยค่านิยมของตัวเองหรือมีวิธีการดำเนินงานที่สม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ธุรกิจที่มีหลักการไม่ตายตัวเท่าหรือมีแนวทางของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงเร็วและซับซ้อนก็อาจต้องไตร่ตรองมากขึ้นสักเล็กน้อย

9. การเติบโตทางอาชีพ

ความก้าวหน้าในธุรกิจหนึ่งๆ เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิตการทำงานที่เปลี่ยนไปมากในเวลาไม่ถึงชั่วอายุคน นอกจากหนึ่งงานตลอดชีวิตแล้ว เราก็ยังเลิกหวังที่จะก้าวหน้าทางอาชีพผ่านโครงสร้างแบบลำดับชั้นไปแล้วอีกด้วย องค์กรมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีโครงสร้างแบบแนวราบ และบทบาทงานก็มีการเปลี่ยนและปรับตัวแทนที่จะก้าวหน้าผ่านระบบลำดับชั้นที่ตายตัว

กล่าวคือ การเติบโตทางอาชีพจะเกี่ยวพันกับการพัฒนาด้านบุคคลและหน้าที่การงานมากกว่า ซึ่งสามารถปรับให้เหมาะกับจุดแข็ง ความสนใจ และลำดับความสำคัญของพนักงานรวมถึงของธุรกิจได้ และก็ควรจะเป็นเช่นนั้น ธุรกิจมีอิสระมากขึ้นในการสร้างบทบาทใหม่หรือปรับเปลี่ยนบทบาทที่มีอยู่ และเจรจางานที่ต้องรับผิดชอบเป็นกรณีไป

อ่านต่อ:

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย

โพสต์ล่าสุด

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

กลยุทธ์การสื่อสารทางธุรกิจ และเหตุผลที่องค์กรจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้

องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องทบทวนกลยุทธ์การสื่อสารของตนเองใหม่เมื่อบุคลากรเริ่มทำงานทางไกลในช่วงล็อกดาวน์ แต่ในปัจจุบัน เมื่อบุคลากรบางส่วนเริ่มกลับไปสู่ที่ทำงานแล้ว ธุรกิจจึงต้องกลับมาคิดกลยุทธ์ใหม่อีกครั้ง มาเรียนรู้วิธีจัดทำกลยุทธ์นี้กัน

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วิธีวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างแท้จริง

การวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นเรื่องยาก คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานมีส่วนร่วมในที่ทำงานจริงๆ หรือไม่ ค้นพบวิธีวัดระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานโดยใช้ตั้งแต่แบบสำรวจความพึงพอใจไปจนถึงเกณฑ์ชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 9 นาที

แรงจูงใจในการทำงาน: 7 วิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน

อะไรเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ สิ่งนั้นใช่เงิน การชมเชย หรืองานที่มีคุณค่ามีความสำคัญมากกว่า เรามาสำรวจสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้คนลงมือทำ รวมถึงเรียนรู้วิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานไปพร้อมๆ กัน