ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานและ 9 วิธีในการพัฒนาสิ่งนี้

ความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในแวดวงใดก็ตาม ต่อไปนี้คือวิธีที่คุณสามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับบริษัทของคุณ

ความร่วมมือในทีม | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
Creativity at Work
ความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานคืออะไร

ความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานคืออะไร

เมื่อนึกถึงความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน คุณอาจนึกภาพถึงสถาปนิกกับกระดานวาดรูป กราฟิกดีไซเนอร์กำลังวาดอาร์ตเวิร์กสำหรับแคมเปญที่โดดเด่นสะดุดตา หรือแฟชั่นดีไซเนอร์ที่รังสรรค์ผลงานชิ้นเอกผ่านจักรเย็บผ้า แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้คือกิจกรรมสร้างสรรค์ในที่ทำงาน แต่ก็ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เพียงประเภทเดียวที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ

ความคิดสร้างสรรค์ในความหมายที่กว้างที่สุดคือ การมีกรอบความคิดที่ประกอบไปด้วยจินตนาการ ความสงสัยใคร่รู้ และการเปิดใจทำสิ่งที่ต่างออกไป ทุกคนเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ทว่าสิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่บางแผนกหรือบางบทบาทหน้าที่เท่านั้น ความคิดสร้างสรรค์ของคุณถือเป็นส่วนสำคัญในที่ทำงาน ไม่ว่าคุณจะรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถทางศิลปะหรือมีพรสวรรค์ด้านการออกแบบหรือไม่ก็ตาม

หลังจากที่ตระหนักได้เช่นนี้ ธุรกิจจำนวนมากขึ้นต่างก็เริ่มนำการคิดเชิงออกแบบไปปรับใช้ โดยแนวทางการคิดนี้เป็นกระบวนการสำหรับนวัตกรรมและการแก้ไขปัญหาที่พัฒนาขึ้นในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทว่าสามารถนำไปใช้ได้กับสถานที่ทำงานทุกรูปแบบ การคิดเชิงออกแบบแก้ไขปัญหาด้วยการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของมนุษย์และความเข้าอกเข้าใจ โดยความเข้าใจในวิธีที่ผู้คนคิด รู้สึก และแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์หนึ่งๆ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นจะช่วยให้คุณค้นพบโซลูชั่นที่ได้ผลง่ายยิ่งขึ้น

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบสนับสนุนให้เกิดการออกไอเดียจำนวนมากและเปิดรับแนวทางต่างๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่เผชิญอยู่ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกหลายครั้ง คุณจึงสามารถสำรวจความเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ

ความคิดสร้างสรรค์จะเติบโตงอกงามได้ก็ต่อเมื่อโครงสร้างในทุกระดับของธุรกิจมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ ผู้นำสามารถจำลองกรอบความคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อบ่มเพาะวัฒนธรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ได้ โดยผู้นำสามารถแสดงออกว่าตนเปิดรับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้ด้วยการให้ความสำคัญกับไอเดียที่แปลกใหม่และเปิดกว้างต่อโซลูชั่นที่ไม่เคยมีมาก่อน ตลอดจนสามารถเปิดโอกาสและมอบพื้นที่ให้ความคิดสร้างสรรค์โลดแล่นได้อีกด้วย

วิธีช่วยให้บุคลากรหน้างานทำงานร่วมกันได้

บุคลากรหน้างานสามารถมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าได้ แต่คุณจำเป็นจะต้องเชื่อมต่อและให้การสนับสนุนพวกเขา ดาวน์โหลดรายการตรวจสอบนี้และศึกษาวิธีการ

ทำไมความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่ทำงาน

ทำไมความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่ทำงาน

เรามักเข้าใจกันโดยธรรมชาติว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดี แต่จากมุมมองทางธุรกิจแล้ว เพราะอะไรการให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ในบริษัทจึงฟังดูสมเหตุสมผลกัน คำตอบคือมี 2 ปัจจัยหลักด้วยกันที่ทำให้สถานที่ทำงานที่มีความสร้างสรรค์เป็นตัวเลือกที่ส่งผลดีกับผลประกอบการของคุณ

ปัจจัยแรกคือ สถานที่ทำงานที่มีความสร้างสรรค์มีแนวโน้มที่จะทำให้พนักงานมีความสุขได้มากกว่า ความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาวะและความคิดสร้างสรรค์นั้นได้รับการวิจัยมาอย่างละเอียดแล้ว โดยการศึกษาหลายชิ้นระบุว่าผู้คนที่มีความสุขกว่าจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า และความคิดสร้างสรรค์ก็ทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้นด้วย นอกจากพนักงานที่มีความสุขจะน่าร่วมงานด้วยและมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในงานของตนเองมากกว่าแล้ว ข้อมูลจาก Saïd Business School แห่ง Oxford University ยังพบว่าพนักงานเหล่านี้ยังมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น 13%

สภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์สามารถปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานในแนวทางอื่นๆ ได้เช่นกัน ความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานมักจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาร่วมกันและความเป็นทีม ซึ่งเป็นการสร้างเสริมสายสัมพันธ์ในการทำงานและบ่มเพาะความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีความรู้สึกเป็นเจ้าของที่มาพร้อมกับการได้ช่วยแก้ไขปัญหา และพนักงานที่รู้สึกเช่นนี้ก็มีแนวโน้มจะมีส่วนร่วมในที่ทำงานมากขึ้นด้วย

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อองค์กรข้อที่ 2 คือ ความสามารถในการกระตุ้นการเติบโตและนวัตกรรม โดยข้อมูลจาก Forrester ระบุว่า บริษัทที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์เติบโตได้รวดเร็วกว่าบริษัทอื่นในแวดวงเดียวกัน 2.6 เท่า นวัตกรรมคือสิ่งที่ช่วยให้บริษัทก้าวทันโลกและพร้อมแข่งขันในตลาดที่มีการแปรเปลี่ยน ตลอดจนปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทั้งเล็กและใหญ่จากภายนอก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงด้านข้อบังคับไปจนถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญของโลกได้ ธุรกิจที่ทำแต่อะไรเดิมๆ มาโดยตลอด และยึดติดกับกระบวนการและเทคโนโลยีเดิมๆ ที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะหลงยุคหลุดสมัยหรือถูกคู่แข่งแซงหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมนั้นแตกต่างกัน แม้จะมีความเกี่ยวข้องกันมากก็ตาม ทั้งนี้ Eli Amdur ได้เขียนถึงประเด็นนี้ใน Forbes ไว้ว่า

"ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะส่วนตัว ไม่ว่าจะในแง่บุคคลหรือองค์กร ซึ่งส่งผลให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขณะที่นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่ว่า"

ดังนั้น หากนวัตกรรมคือประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับ ความคิดสร้างสรรค์ก็คือเส้นทางที่จะพาคุณไปสู่สิ่งนั้นนั่นเอง

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน

โพลล์จาก Gallup ซึ่งสำรวจพนักงานราว 16,000 คนระบุ 3 ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสถานที่ทำงานที่สร้างสรรค์ ดังนี้

  • ความคาดหวังให้ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน

  • เวลาในการสร้างสรรค์

  • อิสระในการลองเสี่ยงที่จำเป็นต่อความคิดสร้างสรรค์

แต่คุณจะนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ไปใช้งานจริงได้อย่างไร ต่อไปนี้คือ 9 วิธีที่จะช่วยให้บริษัทของคุณมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

1. ระดมความคิดอย่างมีประสิทธิภาพ

การระดมความคิดเป็นเทคนิคการรวบรวมไอเดียที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และผู้คนส่วนใหญ่ต่างก็คุ้นเคยกับวิธีนี้ แต่การระดมความคิดก็ยังคงต้องอาศัยการเตรียมตัวเล็กน้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณควรลองใช้การสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การเขียน การวาดภาพ และการมีส่วนร่วมในเอกสารของกลุ่ม รวมถึงช่วยให้กระบวนการสร้างสรรค์เกิดขึ้นผ่านกิจกรรมแบบกลุ่ม ทั้งนี้ สถานที่สำหรับระดมความคิดควรมีพื้นที่มากพอและมีสิ่งรบกวนไม่มากจนเกินไป การคุมอุณหภูมิและเสียงรบกวนให้อยู่ในระดับที่พอดีเพื่อลดความเครียดก็เป็นวิธีที่ช่วยระดมความคิดได้ด้วยเช่นกัน

2. สร้างทีมที่มีความหลากหลาย

ยิ่งทีมของคุณมีความหลากหลาย คนในทีมก็จะยิ่งนำเสนอไอเดียต่างๆ มากยิ่งขึ้น มีการพิสูจน์แล้วว่าประสบการณ์จากหลากหลายวัฒนธรรมมีความเชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยระบุว่ายิ่งบุคคลหนึ่งมีประสบการณ์กับหลากหลายวัฒนธรรมมากเท่าใด บุคคลนั้นก็จะมีประสิทธิภาพในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้นไปด้วย ความคิดสร้างสรรค์ในบริษัทของคุณจะได้รับประโยชน์จากการที่คนในทีมมีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอย่างล้นหลาม ทั้งในแง่ของภูมิหลังกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน ไปจนถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความสามารถ และเพศ

การว่าจ้างบุคลากรที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นอาจเป็นแนวทางสู่เป้าหมายในระยะยาวมากกว่าแค่สิ่งที่คุณนำไปปรับใช้ได้ทันที อย่างไรก็ดี คุณสามารถนำความคิดใหม่ๆ มาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ได้ทันทีด้วยการดึงให้ผู้คนจากทีม แผนก หรือแม้แต่ระดับความอาวุโสที่แตกต่างกันมามีส่วนร่วมด้วย

3. แก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์

การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving หรือ CPS) เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษ 1940 โดย Alex Osborn จาก Creative Education Foundation ซึ่ง Osborn ผู้นี้เองที่เป็นผู้เริ่มสร้างปรากฏการณ์การระดมความคิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ CPS การแก้ปัญหาวิธีนี้ผ่านการทดลองและพิสูจน์มาแล้ว และเหมาะที่จะนำมาพิจารณาในกรณีที่คุณต้องการรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจอย่างสร้างสรรค์

CPS เริ่มต้นจากการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่น การนำเสนอไอเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระหว่างการระดมความคิด ก่อนจะหันไปคิดในเชิงสังเคราะห์ ด้วยการเลือกไอเดียที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดจากการระดมสมองมาพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ในกระบวนการ CPS ปัญหาจะถูกตีกรอบให้อยู่ในรูปแบบของคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้ผู้คนหาคำตอบที่จะมาในรูปแบบของแนวทางแก้ไข

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของกระบวนการนี้คือการตอบสนองในเชิงบวกต่อข้อเสนอแนะ อย่างการกล่าวว่า "ใช่ และ..." ทุกครั้งแทนที่จะพูดว่า "ไม่"

4. การคิดแบบมองภาพใหญ่

เมื่อคุณคิดแบบมองภาพใหญ่ คุณจะเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มบริบทให้กับสิ่งที่คุณกำลังคำนึงถึงอยู่ นอกจากการคิดถึงสิ่งต่างๆ ในมุมมองปัจจุบันแล้ว คุณควรพิจารณาด้วยว่าสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรและจากสาเหตุใด รวมถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากคุณตัดสินใจอย่างหนึ่งหรืออย่างอื่นในงานของคุณ การคิดแบบมองภาพใหญ่สามารถช่วยป้องกันการติดหล่มอยู่กับรายละเอียดปลีกย่อยของปัญหาหรือความท้าทายและทำให้คุณก้าวไปสู่แนวทางแก้ไขได้

5. ส่งเสริมให้คนลองเสี่ยงในทางสร้างสรรค์

สำหรับหลายๆ ธุรกิจแล้ว การลองเสี่ยงอาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาวัฒนธรรมให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับการคิดสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่สดใหม่ สิ่งนี้จึงอาจเป็นการท้าทายกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และวิธีการทำงานที่เป็นที่ยอมรับอยู่ก่อนแล้ว ทั้งยังอาจทำให้สิ่งต่างๆ อย่างผลกำไรและการเติบโตของคุณแขวนอยู่บนเส้นด้าย เมื่อคุณกระโจนเข้าสู่สิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนและทดลองสิ่งที่อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญคือคุณไม่ควรปล่อยให้ความไม่ชอบเสี่ยงทำให้ธุรกิจของคุณเสียโอกาสในการคว้าประโยชน์ไป ซึ่งนั่นหมายถึงการให้โอกาสพนักงานได้นำเสนอไอเดียที่ไม่ประสบความสำเร็จ และชื่นชมในความพยายามทำสิ่งต่างๆ ที่แม้จะไม่ได้ผลในท้ายที่สุดก็ตาม

6. หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษ

วัฒนธรรมการกล่าวโทษไม่ส่งผลดีต่อใคร เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ให้หันไปมองหาต้นตอสาเหตุและสิ่งที่สามารถนำมาเป็นบทเรียนได้ในทันที เพื่อให้คุณสามารถทำสิ่งที่ต่างออกไปจากเดิมได้ในอนาคต

7. ให้เวลาโปรเจ็กต์ได้พัฒนาอย่างเต็มที่

ความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนกับงานรูปแบบอื่นๆ ที่อาจเดินหน้าได้เร็วขึ้นเมื่อเพิ่มแรงกดดัน กระบวนการสร้างสรรค์ของบุคคลหรือทีมอาจไม่ได้เป็นแบบเส้นตรง เนื่องจากไอเดียใหม่ๆ และการปรับเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันคาดคิดผ่านสัญชาตญาณ ดังนั้น แม้ว่าคุณจะวางรากฐานที่อุดมสมบูรณ์เพื่อให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ แต่คุณก็ไม่สามารถเรียกร้องให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม หรือเกิดขึ้นจริงได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี งานวิจัยจาก Harvard Business School ชี้ว่าอาจมี 'จุดลงตัว' ที่ความคิดสร้างสรรค์และความกดดันด้านเวลาสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมที่สุดได้ เพราะแรงกดดันที่มากเกินไปจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ถดถอย แต่ในขณะเดียวกัน การไม่มีแรงกดดันเลยก็อาจทำให้เกิดสภาวะเฉื่อยได้

8. ให้เวลากับโปรเจ็กต์ที่ทำด้วยความชอบ

การให้พนักงานมีเวลาและพื้นที่ในการทำโปรเจ็กต์ที่ตนมีใจรักที่จะทำ ทั้งยังมีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและอิสรภาพ สามารถเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมของคนเหล่านี้ได้ และยังอาจเป็นวิธีหนึ่งในการตามเก็บเกี่ยวผลพลอยได้ที่มาจากการคิดหลายแง่มุมในกระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หรือการระดมความคิดอีกด้วย อย่างไอเดียที่ไม่ถูกนำไปพัฒนาต่อแต่ยังคงมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า

9. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสามารถช่วยทวีการมีส่วนร่วมของแต่ละคน ทั้งยังเพิ่มแรงใจและกำลังใจจากการที่คนในกลุ่มให้การยอมรับและสนับสนุนไอเดียต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากบางคนอาจรู้สึกว่างานกลุ่มกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจน้อยกว่าการทำงานตัวคนเดียว สิ่งสำคัญในการทำงานร่วมกันเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงคือ คุณจะต้องหาจุดลงตัวระหว่างความมีอิสระ การทำงานเป็นกลุ่ม และการแบ่งปันไอเดียในทีมของคุณให้ได้

อ่านต่อ

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ

รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน

เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานร่วมกันของทีม: วิธีเป็นสุดยอดเพื่อนร่วมงานประจำทีม

เรียนรู้เพิ่มเติม
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานร่วมกันของทีม: วิธีเป็นสุดยอดเพื่อนร่วมงานประจำทีม

เรียนรู้เพิ่มเติม

โพสต์ล่าสุด

การทำงานจากทางไกล | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

การทำงานจากทางไกล: ประโยชน์และความท้าทาย

พวกเราทำงานจากทางไกลและจะทำงานจากทางไกลกันมากขึ้นเรื่อยๆ มาค้นพบข้อดีและข้อเสียของการทำงานทางไกลและวิธีใช้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานรูปแบบนี้กัน

ความร่วมมือในทีม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วิธีทำให้การทำงานร่วมกันแบบข้ามทีมมีประสิทธิภาพ

เรียนรู้วิธีกระตุ้นการทำงานร่วมกันแบบข้ามทีม รวมถึงทำความเข้าใจหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดและข้อผิดพลาดเพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันในทีมของคุณให้ดีขึ้น

การทำงานร่วมกัน | ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

การทำงานร่วมกันแบบหลายฝ่าย

ค้นพบเคล็ดลับที่จำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานร่วมกันแบบหลายฝ่าย รวมถึงประโยชน์ของมุมมองที่หลากหลายและวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานเป็นทีมในที่ทำงานของคุณ