นวัตกรรมในที่ทำงานเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ บริษัทที่อยากประสบความสำเร็จจำเป็นต้องรู้วิธีมีส่วนร่วมกับพนักงาน และมีวิธีรวบรวมแนวคิดที่ทันสมัยจากภาคส่วนต่างๆ ในองค์กร เคล็ดลับง่ายๆ 3 ข้อที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นได้มีดังนี้

  1. มองว่าพนักงานทุกคนเป็นผู้สร้างนวัตกรรม
  2. ทุกไอเดียถือว่าเป็นไอเดียที่ดี (แม้บางครั้งคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)
  3. จัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับผู้สร้างนวัตกรรมทุกคน

ทำไมนวัตกรรมในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ทำไมนวัตกรรมในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ

โลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางธุรกิจไปตลอดกาล บริษัทไม่ใช่ปลาใหญ่ในบ่อเล็กที่มีคู่แข่งเพียงหยิบมืออีกต่อไป

ทุกวันนี้บริษัทต้องเผชิญกับการแข่งขันจากทั่วทุกมุมโลก องค์กรที่มีชื่อเสียงอาจพบว่าตัวเองต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์กันใหม่เนื่องจากคู่แข่งมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมขึ้นไปอีกระดับ

ในโลกที่มีการแข่งขันสูงและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ซีอีโอจะต้องมองว่านวัตกรรมเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ ในการสำรวจซีอีโอครั้งที่ 20 ของ PwC ในปี 2017 เกือบ 1 ใน 4 ของผู้บริหารระดับสูงจำนวน 246 รายที่ได้รับการสำรวจกล่าวว่านวัตกรรมคือสิ่งที่ตนต้องการเสริมสร้างให้แข็งแกร่งมากที่สุด เพราะทุกวันนี้นวัตกรรมนับว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าทุนมนุษย์และความสามารถด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีเสียอีก

ดังนั้นคำถามก็คือ ผู้นำธุรกิจจะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในที่ทำงานได้อย่างไร

  1. พนักงานทุกคนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมได้ทั้งนั้น
    พนักงานทุกคนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมได้ทั้งนั้น

    บริษัทที่ให้แผนกวิจัยและพัฒนารับผิดชอบเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพียงแผนกเดียวกำลังพยายามตีกรอบให้กับกระบวนการแห่งความคิดสร้างสรรค์ และหากคุณอาศัยให้คนเพียงหยิบมือเป็นผู้คิดหาไอเดียทั้งหมด นอกจากจะเสียผลิตภาพไปเปล่าๆ แล้ว ไม่นานไฟแห่งการคิดสร้างสรรค์ก็จะมอดลงไปด้วย

    คุณต้องให้พนักงานทุกคนมีโอกาสได้สร้างสรรค์นวัตกรรมโดยการส่งเสริมให้พนักงานแชร์ไอเดียและมีส่วนร่วมในการต่อยอดจากไอเดียใหม่ๆ

    คุณจะใช้กล่องสำหรับใส่ข้อเสนอแนะแบบดั้งเดิมก็ได้ แต่การย้ายการสนทนาทางออนไลน์ไปอยู่บนโซเชียลเน็ตเวิร์กขององค์กรอย่าง Workplace จะเป็นการช่วยเผยแพร่ไอเดียต่างๆ และเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาไอเดียต่อไป เครื่องมืออย่างเช่น กลุ่มและฟีดข่าว ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรม หากทุกคนในองค์กรสามารถดูและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไอเดียใหม่ๆ ได้ ทั้งบริษัทก็จะสามารถระดมความคิดร่วมกันได้

    พนักงานขายอาจจะโพสต์ข้อเสนอแนะในตอนเช้าเกี่ยวกับสื่อใหม่ที่ต้องใช้เพื่อปิดดีล จากนั้นทีมการตลาดสามารถนำข้อเสนอแนะนั้นมาหารือกันและนำเสนอชิ้นงานได้ในช่วงบ่าย วันรุ่งขึ้นคุณก็ได้โบรชัวร์ใหม่แล้ว คุณจะเห็นว่าองค์กรสามารถดำเนินงานได้เร็วขึ้นเมื่อคุณให้พื้นที่และเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมแก่พนักงาน

  2. ทุกไอเดียถือว่าเป็นไอเดียที่ดี (แม้บางครั้งคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)
    ทุกไอเดียถือว่าเป็นไอเดียที่ดี (แม้บางครั้งคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)

    การให้รางวัลสำหรับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในที่ทำงานเป็นแนวทางสำคัญในการกระตุ้นให้พนักงานคิดค้นไอเดียใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ ซึ่งรางวัลนั้นอาจจะเป็นเงินหรือเป็นการขอบคุณต่อหน้าคนทั้งบริษัทบนเครือข่ายขององค์กรก็ได้ โพสต์ขอบคุณบุคคลที่เป็นเสาหลักในการสร้างโอกาสใหม่สุดยิ่งใหญ่นับเป็นการสร้างขวัญกำลังใจอย่างโปร่งใสที่สามารถช่วยรักษาการมีส่วนร่วมของพนักงานเอาไว้ได้

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องมั่นใจว่าทุกคนมีความเข้าใจตรงกันว่าทุกไอเดียมีข้อดีในตัวของมันเองเสมอ ไอเดียใหม่ๆ ส่วนใหญ่มักจะไม่เวิร์ก แต่อีกหลายไอเดียที่ฟังดูไม่น่าจะเป็นไปได้ก็กลับกลายมาเป็นไอเดียที่ชาญฉลาดได้เหมือนกัน

    ดังนั้นจงอย่าด้อยค่าสมาชิกในทีมที่เสนอไอเดียไม่เข้าท่า หรือลงโทษผู้คนเพราะนำไอเดียที่ล้มเหลวไปใช้ แต่ให้ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวคือกระบวนการเรียนรู้ หากคุณมีการจัดการอย่างเหมาะสม คุณก็จะสามารถส่งเสริมให้ทีมพยายามทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไปได้

  3. ผู้สร้างนวัตกรรมทุกคนต้องการเครื่องมือที่เหมาะสม
    ผู้สร้างนวัตกรรมทุกคนต้องการเครื่องมือที่เหมาะสม

    ไอเดียดีๆ มากมายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งหลายครั้งเราก็มักแก้ปัญหาด้วยการโยนเทคโนโลยีเข้าไปและเรียกมันว่านวัตกรรม

    แต่อย่าลืมว่าเทคโนโลยีก็คือเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ซึ่งแม้จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานและสร้างนวัตกรรมได้ แต่ความคิดสร้างสรรค์แท้จริงแล้วมาจากพนักงานของคุณ ดังนั้น คุณไม่ควรมองว่าแค่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการปัญหาก็จบ แต่ให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวสนับสนุนให้ผู้คนสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แทน

    กล่องสำหรับให้ข้อเสนอแนะทางออนไลน์ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่อย่าลืมว่าพนักงานต่างฝ่ายก็ต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วย พนักงานเหล่านี้ไม่เพียงแค่ต้องแชร์ไอเดียเท่านั้น แต่ยังต้องทำงานร่วมกันในเอกสารเดียวกัน รวมถึงต้องติดต่อกันผ่านการโทร วิดีโอ และข้อความด่วน

    การสร้างเครือข่ายเพื่อรองรับการสื่อสารทางธุรกิจในลักษณะนี้จะช่วยให้ทีมแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ทุกคนในบริษัทสามารถใช้งานเครือข่ายนั้นได้ตลอดเวลา ไม่แน่ว่าคุณอาจจะเห็น "ทีม" ที่เกิดขึ้นเองตามความสนใจที่มีร่วมกันก็ได้

    ผลที่เกิดขึ้นคือคุณก็จะยิ่งได้รับไอเดียใหม่ๆ และก่อเกิดนวัตกรรมที่ดีกว่าจากภาคส่วนต่างๆ ในองค์กรของคุณ

หัวข้อที่คุณอาจสนใจ
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

โพสต์ล่าสุด

ความร่วมมือในทีม | ใช้เวลาอ่าน 10 นาที

วิธีสร้างความร่วมมือในทีม

ค้นพบเคล็ดลับสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือของทีมในที่ทำงาน รวมถึงประโยชน์ของการทำงานร่วมกันและวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานเป็นทีม

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 9 นาที

อธิบายการสื่อสารทางธุรกิจ

เราจะมาอธิบายเรื่องการสื่อสารทางธุรกิจให้คุณได้ฟังกัน! ค้นพบว่าการสื่อสารทางธุรกิจคืออะไรและคุณจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร มาดูคำแนะนำที่นำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ เหล่านี้กันเลย

การทำงานจากทางไกล | ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

การทำงานจากทางไกล: ประโยชน์และความท้าทาย

เราทำงานจากทางไกลกันมากขึ้น และอาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต มาค้นพบข้อดีและข้อเสียของการทำงานจากทางไกลและวิธีใช้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานรูปแบบนี้กัน