การเข้าภาวะลื่นไหล: วิถีสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจริงหรือไม่

ในทางจิตวิทยา แนวคิดของภาวะลื่นไหลหมายถึงการรู้สึกแห่งการดำดิ่งและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ แต่เมื่อภาวะลื่นไหลถูกขัดจังหวะ ก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพและผลิตภาพลดลงได้ และนี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมการมีเครื่องมือที่ผสานการทำงานกันได้อย่างราบรื่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 10 นาที
flow in the workplace - Workplace from Meta

การถูกขัดจังหวะการทำงานอยู่บ่อยๆ อาจทำให้ทีมไม่สามารถจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จริงอยู่ที่ทุกคนต้องมีเวลาหยุดพัก แต่การถูกรบกวนจากการเปิดอีเมล รับโทรศัพท์ และอัพเดตข่าวสารในโซเชียลมีเดียอาจทำให้ผลิตภาพลดลงอย่างมากได้

การศึกษาของ University of California Irvine กล่าวว่าคนเราจะใช้เวลาเฉลี่ย 23 นาทีกับอีก 15 วินาทีในการกลับเข้าสู่ห้วงการทำงานเดิมหลังจากหยุดไปทำสิ่งอื่นๆ ที่เข้ามาขัดจังหวะ

หลายคนมองว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมกันนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่คุณก็สามารถแย้งได้ว่าหากคุณทำสองสิ่งในเวลาเดียวกัน ผลลัพธ์ของทั้งสองสิ่งนั้นอาจจะออกมาไม่ดีสักอย่างเลยก็ได้

แผนภาพภาวะลื่นไหล

แผนภาพภาวะลื่นไหล

Mihaly Csikszentmihalyi นักจิตวิทยาชาวฮังการี-อเมริกาได้แนะนำให้เรารู้จักกับแผนภาพภาวะลื่นไหล (Flow Model) เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงสถานะทางอารมณ์ทั้งหมดที่เราน่าจะพบเจอเมื่อพยายามทำงานให้เสร็จ

ทฤษฎีนี้เสนอว่าผู้คนจะมีความสุขที่สุดเมื่ออยู่ใน 'ภาวะลื่นไหล' อย่างเต็มที่ กล่าวคือ มีส่วนร่วมและจดจ่อในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ ซึ่งหมายถึงการพยายามหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการถูกท้าทายจากงานที่ทำอยู่และการมีทักษะและเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานนั้น

3 เหตุผลที่ภาวะลื่นไหลมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของที่ทำงาน

3 เหตุผลที่ภาวะลื่นไหลมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของที่ทำงาน

1. ทำงานเสร็จมากขึ้นในเวลาที่น้อยลง

คุณกำลังจดจ่ออยู่กับการเขียนรายงาน แต่จู่ๆ ก็มีเมลใหม่เด้งเข้ามาในกล่องข้อความของคุณ คุณจึงผละจากสิ่งที่กำลังทำอยู่เพื่อไปอ่านเมล ซึ่งทำลายสมาธิของคุณ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า สิ่งรบกวนเช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับพนักงานของคุณเช่นเดียวกัน

"Workplace ช่วยให้คุณสามารถผสานการทำงานกับเครื่องมือที่คุณใช้เป็นประจำอยู่แล้ว เช่น Jira และ Smartsheet เพื่อให้คุณสามารถสลับไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างราบรื่น"

"Workplace ช่วยให้คุณสามารถผสานการทำงานกับเครื่องมือที่คุณใช้เป็นประจำอยู่แล้ว เช่น Jira และ Smartsheet เพื่อให้คุณสามารถสลับไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างราบรื่น"

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนสลับไปมาระหว่างเนื้อหาสื่อต่างๆ ในอุปกรณ์เครื่องเดียวทุก 11 วินาที สิ่งรบกวนที่เข้ามาขัดจังหวะอาจทำให้พนักงานของคุณเสียสมาธิ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องใช้เวลาดึงสมาธิใหม่อีกครั้งเพื่อกลับไปทำงานที่ซับซ้อนให้เสร็จ

ผู้คนจะไม่สามารถปล่อยอารมณ์ให้เข้าสู่ภาวะลื่นไหลได้ หากต้องสลับไปมาระหว่างซอฟต์แวร์แต่ละตัวไปพร้อมกับดูหน้าจอและจอภาพต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่ข่าวดีก็คือ Workplace ช่วยให้คุณสามารถผสานการทำงานกับเครื่องมือที่คุณใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น Jira และ WebEx เพื่อให้คุณสลับไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างราบรื่น แถมยังช่วยลดการขัดจังหวะและเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดด้วย

2. มีข้อผิดพลาดน้อยลง

เมื่อคุณมอบหมายงานให้พนักงาน คุณอาจกำหนดภาระงานที่ทำให้เสร็จได้จริงสำหรับวันนั้นๆ โดยแบ่งเวลาสำหรับพักผ่อนไว้ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะลืมนึกถึงสิ่งรบกวนหลายๆ อย่างที่อาจทำให้การจัดการเวลาไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้

ผู้คนมักจะชดเชยการถูกขัดจังหวะดังกล่าวด้วยการทำงานให้เร็วขึ้น แต่การทำเช่นนี้กลับมีแต่จะทำให้งานเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้คือเครื่องมือที่จะเข้ามาไล่อ่านอีเมล ข้อความด่วน และข้อมูลอัพเดตสำหรับโปรเจ็กต์ที่ไม่เกี่ยวข้องแทน เพื่อให้พนักงานสามารถจดจ่อกับการทำงานที่สำคัญให้ออกมาอย่างถูกต้อง

ซึ่งเครื่องมืออย่าง Workplace ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่งในการทำสิ่งที่กล่าวมานั้น

3. ช่วยลดความเครียด

สิ่งรบกวนไม่เพียงแค่ทำให้เสียเวลาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้คนด้วย ความเครียดเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของที่ทำงานในปัจจุบัน และการเสียสมาธิก็อาจทำให้หงุดหงิดและรู้สึกเหมือนถูกกดดันอยู่ตลอดเวลาได้

Gloria Mark ศาสตราจารย์ด้านสารสนเทศจาก University of California อธิบายสิ่งรบกวนทางดิจิทัลว่าเป็นเหมือนกับการตีลูกเทนนิสไปมาโดยใช้พลังความคิดของเรา แต่จะแตกต่างจากการเล่นเทนนิสจริงๆ ตรงที่สมองของเราต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนทิศทางมากกว่า ซึ่งภาวะลื่นไหลสามารถช่วยปรับสมดุลของพลังงานเหล่านั้นได้

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

โพสต์ล่าสุด

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 10 นาที

Ennismore ใช้ Workplace เพื่อเชื่อมต่อทีมทั่วโลกและทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างไร

ผู้นำ Workplace: เราได้พูดคุยกับ Sharan Pasricha ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Ennismore เพื่อดูว่าการใช้ Workplace ช่วยเชื่อมต่อทั้งองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างไร

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 11 นาที

วัฒนธรรมในที่ทำงาน: นิยามและวิธีสร้างผลลัพธ์เชิงบวกในองค์กรของคุณ

เมื่อการระบาดใหญ่ทั่วโลกทำให้องค์กรต่างๆ ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง การสร้างวัฒนธรรมในที่ทำงานในเชิงบวกจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนสำหรับธุรกิจไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม

การสื่อสารทางธุรกิจ | ใช้เวลาอ่าน 10 นาที

วิธีจัดระเบียบตัวเองในที่ทำงาน: ข้อเสียของการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน

หลายคนมักมองว่าความสามารถในการจัดการงานจำนวนมากได้นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การรับผิดชอบงานหลายๆ โปรเจ็กต์เป็นสิ่งที่ดีจริงหรือ หรือมีวิธีการทำงานที่ดีกว่านี้กัน