จะรักษาพนักงาน Gen Z ไว้ได้อย่างไร

ทำความเข้าใจว่าทำไมพนักงานยุค Gen Z และมิลเลนเนียลจึงลาออกจากงาน และวิธีทำให้พนักงานอยู่ต่อ

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที
ทำไมคนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z ถึงลาออกจากงาน

ทำไมคนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z ถึงลาออกจากงาน

เมื่อพนักงานกลับมาทำงานหลังจากการระบาดใหญ่ทั่วโลก โลกที่กลับมานั้นก็แตกต่างออกไป และหลังจากการหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือนหรือในบางกรณีก็หลายปี พนักงานก็เริ่มคิดใหม่เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของตน

การวิจัยตลาดงานหลังการแพร่ระบาดของโควิดแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มใหม่ที่สำคัญ ซึ่งกำหนดรูปแบบสถานที่ทำงานและอาชีพของผู้คนในสถานที่ทำงาน คนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z ซึ่งมาถึงจุดที่เป็นแรงงาน 1 ใน 3 ของโลกอย่างรวดเร็วนั้นกำลังเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

จากการสำรวจผู้หางานของ Bankrate ในปี 2023 พบว่า 78% ของพนักงานที่เป็นคนยุค Gen Z และ 61% ของพนักงานที่เป็นคนยุคมิลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะหางานใหม่ในอีก 12 เดือนข้างหน้า 55% ของคนยุค Gen Z และ 57% ของคนยุคมิลเลนเนียลกำลังวางแผนที่จะขอขึ้นเงินเดือน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนยุคมิลเลนเนียล (51%) และ 61% ของพนักงานที่เป็นคนยุค Gen Z กำลังมองหาความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น

การขาดความยืดหยุ่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานรุ่นใหม่รู้สึกแปลกแยก โดย 38% ของกลุ่มคน Gen Z ที่สำรวจโดย NinjaOne กล่าวว่า การต้องทำงานในออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดประการหนึ่งในการหางานในฝัน

นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อแรงงานหลังการระบาดใหญ่ ด้วยความกังวลเรื่องเงิน การทำงานหนักเกินไป และภาวะหมดไฟ ซึ่งเป็นเหตุผลในการลาออกที่พบบ่อยที่สุด จึงไม่แปลกเลยที่ผู้คนจะไตร่ตรองทางเลือกของตน ในขณะที่ 65% ของพนักงานโดยรวมกล่าวว่าตนใช้เวลามากขึ้นในการประเมินสมดุลระหว่างงาน/ชีวิต สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 71% สำหรับคนยุค Gen Z และเพิ่มเป็น 73% สำหรับคนยุคมิลเลนเนียล แล้วองค์กรต่างๆ จะสามารถค้นหาและรักษาพนักงานรุ่นใหม่ที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ได้อย่างไร

แก้งานยุ่งได้ไม่ยากด้วย Workplace

ไม่ว่าคุณจะต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับการกลับสู่ที่ทำงาน หรือนำวิธีการทำงานแบบผสมผสานไปปรับใช้ Workplace ก็สามารถทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้

การสรรหาพนักงานที่เป็นคนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z

การสรรหาพนักงานที่เป็นคนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z

เนื่องจากคนยุค Gen Z และมิลเลนเนียลจำนวนมากลาออกหรือวางแผนที่จะลาออกจากงาน การหาผู้สมัครที่เหมาะสมซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำงานในตำแหน่งใหม่อย่างต่อเนื่องจึงยากกว่าที่เคย เพื่อดึงดูดคนเก่งๆ ในช่วงแรกของอาชีพหรือหลังจบการศึกษาทันที นายจ้างต้องยกระดับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของคนรุ่นที่รู้เป้าหมายของตัวเองและมีทางให้เลือกมากมาย นายจ้างสามารถดึงดูดคนเก่งที่ดีที่สุดได้หลายวิธี ดังนี้

ดำเนินการให้เร็ว

คนรุ่นนี้คาดหวังกระบวนการที่รวดเร็วตั้งแต่การตอบกลับการประชาสัมพันธ์หรือประกาศรับสมัครงาน ไปจนถึงการรับข้อเสนอหรือความเห็น โดยมักต้องการดำเนินขั้นตอนให้เสร็จภายในสองสัปดาห์ นายจ้างต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่ตนมีผู้สมัครที่ต้องการ

เสนอการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานทางไกล

ความยืดหยุ่นเรื่องเวลาทำงานในสถานที่มีความสำคัญต่อพนักงานทั้งที่เป็นชาว Gen Z และมิลเลนเนียล แต่ก็มีการแบ่งแยกตามช่วงอายุ โดยมีเพียง 27% ของกลุ่มคน Gen Z ที่มองหาตำแหน่งงานทางไกลโดยสมบูรณ์ เทียบกับ 49% ของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล ดังนั้น การเสนอทางเลือกที่หลากหลายจึงสำคัญ

ฉลาดใช้เครื่องมือการสรรหาบุคลากรที่สร้างสรรค์

สำหรับชาว Gen Z และมิลเลนเนียลแล้ว การรู้ว่างานของตนจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำงานได้ไวมาช่วยเหลือถือเป็นข้อดีอย่างยิ่ง หากมีขั้นตอนรับสมัครงานที่สร้างสรรค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของคุณมีศักยภาพ ผู้สมัครก็จะได้รับความมั่นใจที่ต้องการ เทคโนโลยียังมอบวิธีที่สร้างสรรค์ในการโฆษณา สัมภาษณ์ และดำเนินขั้นตอนรับสมัคร ซึ่งรวมถึง AR/VR และวิดีโอ นอกจากนี้ กระบวนการที่ใช้หลายช่องทางจะช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้สมัครอีกด้วย

จริงใจเข้าไว้

คนยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง ทั้งในฐานะบุคคลและในแง่ของผลิตภัณฑ์ บริการ และผู้คนที่เลือกจะมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นในการเลือกนายจ้างของคนรุ่นนี้ การแสดงปณิธานต่อค่านิยมเชิงบวก เช่น ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก ตลอดจนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม อาจเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของผู้สมัคร

ปรับแผนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

คนรุ่นใหม่ต่างมองหาประสบการณ์ที่ปรับแต่งมาสำหรับตน การถามความสนใจของผู้สมัครสามารถช่วยให้องค์กรเสนอแผนสิทธิประโยชน์ที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้

ส่งเสริมให้มีการแนะนำ

การแนะนำพนักงานเป็นแหล่งงานยอดนิยมของผู้หางานยอดนิยม ดังนั้น คุณควรให้พนักงานปัจจุบันทราบเกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างหรือความต้องการที่จะสรรหาบุคลากร การเสนอรางวัลสำหรับผู้แนะนำจะทำให้พนักงานพร้อมและเต็มใจที่จะแนะนำบริษัทให้กับเพื่อนๆ และอดีตเพื่อนร่วมงาน

เริ่มต้นให้ดี

คนยุคมิลเลนเนียลคาดหวังประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมตั้งแต่วันแรก ตัวอย่างเช่น การสำรวจหนึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ (94%) กล่าวว่า ประสบการณ์การเริ่มต้นทำงานด้าน IT ที่ดีนั้น “สำคัญมาก” หรือ “ค่อนข้างสำคัญ” สำหรับตน แนะนำพนักงานใหม่ของคุณให้กับทีม และพิจารณาที่จะมอบหมายเพื่อนให้พนักงานใหม่ เพื่อให้เพื่อนช่วยแนะแนวทางตลอดสัปดาห์แรกๆ ในองค์กร

วิธีรักษาพนักงานที่เป็นคน Gen Z และมิลเลนเนียล: 12 แนวทางที่ยอดเยี่ยม

วิธีรักษาพนักงานที่เป็นคน Gen Z และมิลเลนเนียล: 12 แนวทางที่ยอดเยี่ยม

1. คิดเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นผลักดันให้ความกังวลเรื่องเงินกลายเป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งกับพนักงานที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่มแรงงาน ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง และในกรณีที่พนักงานรู้สึกไม่ภักดีต่อนายจ้างคนใดคนหนึ่ง พนักงานจะย้ายไปยังบริษัทที่เสนอค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์มากที่สุด

2. ใส่ใจการมีส่วนร่วม

การขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานส่งผลกระทบต่อคนทำงานทุกรุ่น แต่จะส่งผลรุนแรงเป็นพิเศษในคนยุค Gen Z และคนยุคมิลเลนเนียลอายุน้อยกว่าที่เกิดในปี 1989 หรือหลังจากนั้น จากข้อมูลของ Gallup พบว่า 54% ของคนกลุ่มนี้ไม่มีส่วนร่วมกับงาน ในขณะที่ 15% ไม่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อรับมือกับปัญหานี้ องค์กรต่างๆ ต้องดำเนินการเพื่อสร้างวัฒนธรรมบริษัทเชิงบวกขึ้น

3. ระวังภาวะหมดไฟ

ความอ่อนไหวต่อความเครียดและภาวะหมดไฟของพนักงานรุ่นใหม่มีผลโดยตรงต่อการมีส่วนร่วม เนื่องจาก 68% ของกลุ่มคน Gen Z และคนยุคมิลเลนเนียลที่อายุน้อยกว่า และ 63% ของคนยุคมิลเลนเนียลที่มีอายุมากกว่ากำลังเผชิญกับความเครียด ความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างจะมองข้ามไม่ได้

4. ความก้าวหน้าที่ชัดเจน

แน่นอนว่าพนักงานอายุน้อยกว่ามุ่งที่จะก้าวหน้าทางอาชีพ บริษัทต่างๆ จึงต้องจัดเตรียมการเรียนรู้และโอกาสที่จะก้าวหน้าทางอาชีพอย่างชัดเจนไว้ให้ ยกระดับทักษะและเพิ่มทักษะใหม่ให้กับทุกบทบาทเป็นประจำ และพร้อมที่จะกำหนดเส้นทางอาชีพของพนักงานให้เหมาะกับตัวพนักงานและบริษัท

5. ให้คำแนะนำ

ให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่พนักงานอายุน้อยกว่า เพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวหน้าและสนุกกับงานของตนเอง พร้อมกับให้คำปรึกษาและการฝึกสอนทั้งจากภายในและจากภายนอกบริษัทด้วย

6. อย่าลืมความสนุกสนาน

หาเวลาและพื้นที่ให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ประสบการณ์การสร้างทีมที่สนุกสนานยังช่วยสานสายสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญได้อีกด้วย

7. อำนวยความสะดวกในสถานที่ทำงานให้กับพนักงาน

ยกระดับประสบการณ์ในสถานที่ทำงานโดยให้สิทธิ์รับบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องออกกำลังกายและห้องฟิตเนส บริการด้านสุขภาพ ร้านอาหารและห้องกาแฟ ห้องเล่นเกม หรือแค่พื้นที่พักผ่อน

8. เน้นผลกระทบและจุดมุ่งหมาย

PwC ระบุว่า ในบรรดาพนักงานที่กล่าวว่าตนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงาน มีเพียง 47% เท่านั้นที่พึงพอใจกับงานของตน และมีโอกาสน้อยกว่าที่จะกล่าวว่าตนเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริงในที่ทำงาน เทียบกับพนักงานที่ตั้งใจจะอยู่ต่อ การสร้างสถานที่ทำงานที่เสมอภาค โดยมีค่านิยมและพันธกิจที่ชัดเจนสามารถสร้างความรู้สึกมีจุดมุ่งหมายที่พนักงานต้องการได้

9. ติดตามความพึงพอใจในงานและทำตามคำติชม

ให้โอกาสพนักงานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินการตามความเห็นเหล่านั้น รวมทั้งเปิดกว้างเกี่ยวกับการติดตามผล โดยต้องแน่ใจว่าเป็นกระบวนการแบบสองทางระหว่างพนักงานและบริษัทอย่างแท้จริง

10. ส่งเสริมความเคารพและความโปร่งใส

พนักงานรุ่นใหม่คาดหวังที่จะรู้สึกปลอดภัย มีคุณค่า และได้รับความเคารพในฐานะบุคคลและผ่านผลงานของตน ให้เปิดกว้างและซื่อสัตย์ รักษาสัญญา และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างเสมอ

11. สนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการ

พนักงานที่เป็นคนยุค Gen Z และมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการกำกับตนเองและความเป็นอิสระ เมื่อได้รับอิสระเพียงพอ พนักงานจะสามารถช่วยมอบวิสัยทัศน์และแนวคิดใหม่ ซึ่งเป็นจะแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และมักจุดประกายการพัฒนาใหม่ๆ พร้อมทั้งประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นได้

12. ปรับประสบการณ์ให้เหมาะกับบุคคล

งานจะต้องปรับให้เหมาะกับแต่ละคน โดยคำนึงถึงความชอบ ความสามารถและทักษะ ประเภทบุคลิกภาพ และความคาดหวัง การปฏิบัติต่อพนักงานแต่ละคนในฐานะบุคคลอันทรงคุณค่าจะสร้างความไว้วางใจและความภักดี ส่งเสริมการแนะนำพนักงาน และลดอาการหมดไฟรวมถึงการลาออกของพนักงานได้

อ่านต่อ:
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

โพสต์ล่าสุด

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

Quiet Hiring: วิธีนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร

คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ 'Quiet Quitting' มาแล้ว ตอนนี้เป็น 'Quiet Hiring' บ้าง แต่เทรนด์ใหม่นี้ในที่ทำงานคืออะไร และจะช่วยให้คุณรักษาคนที่เก่งที่สุดไว้ได้อย่างไร

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วิธีวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างแท้จริง

การวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นเรื่องยาก คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานมีส่วนร่วมในที่ทำงานจริงๆ หรือไม่ ค้นพบวิธีวัดระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานโดยใช้ตั้งแต่แบบสำรวจความพึงพอใจไปจนถึงเกณฑ์ชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน

การมีส่วนร่วมของพนักงาน | ใช้เวลาอ่าน 9 นาที

แรงจูงใจในการทำงาน: 7 วิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน

อะไรเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ สิ่งนั้นใช่เงิน การชมเชย หรืองานที่มีคุณค่ามีความสำคัญมากกว่า เรามาสำรวจสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้คนลงมือทำ รวมถึงเรียนรู้วิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานไปพร้อมๆ กัน