Gig Economy คืออะไรและส่งผลต่อธุรกิจของคุณอย่างไร

Gig Economy เป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน มาดูกันว่าสิ่งนี้มีข้อดีและข้อเสียต่อองค์กรและพนักงานอย่างไรบ้าง

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 6 นาที
Gig Economy
Gig Economy คืออะไร

Gig Economy คืออะไร

Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจจากการจ้างงานแบบครั้งคราว เป็นระบบเศรษฐกิจที่คนส่วนใหญ่ทำงานในรูปแบบสัญญาจ้างระยะสั้นหรือสัญญาจ้างตามตัวงาน ซึ่งไม่มีข้อผูกพันทางสัญญาในระยะยาวใดๆ โดยผู้ที่ทำงานจะได้รับเงินตามงาน โปรเจ็กต์ หรือเป้าหมายในระยะสั้น ('งานชั่วคราว') ตลาดระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยแบบสำรวจจาก McKinsey เผยว่า ผู้คนกว่า 162 ล้านคนทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ (ราว 20-30% ของประชากรวัยทำงาน) ทำงานอิสระประเภทนี้อยู่

คนที่ทำงานใน Gig Economy คือใคร

คนที่ทำงานใน Gig Economy คือใคร

ผู้คนบางส่วนกล่าวถึง Gig Economy ในฐานะปรากฏการณ์แห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิดเป็นตัวกระตุ้น ทว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากการจัดการงานแบบทางเลือกและแบบที่ยึดตามโปรเจ็กต์มีมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1900 โดยมักจะใช้คำว่า 'แรงงานขาจร' 'ผู้รับจ้างอิสระ' หรือการจัดการงานแบบ 'จ่ายเป็นเงินสด' ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

การจัดการงานโดยอิงตามตัวงานได้รับความนิยมมากขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาอันยากลำบาก อย่างวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2008 จากการที่บริษัทถูกบีบให้ต้องเลิกจ้างพนักงานประจำและการที่พนักงานเองก็ต้องการรายได้พิเศษ และด้วยวิกฤติค่าครองชีพในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก พนักงานจำนวนมากจึงมองหางานพิเศษเป็น 'อาชีพเสริม' เพื่อให้ได้เงินเพิ่มเติมจากเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ตนได้รับ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ไม่ได้อยู่ที่การทำงานชั่วคราวเพราะความจำเป็นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การระบาดใหญ่ทั่วโลกและการลาออกครั้งใหญ่ที่ตามมาส่งผลให้ใครหลายๆ คนทบทวนวิธีการทำงานของตนเองและเลือกการจัดการงานที่ยืดหยุ่นมากกว่าสัญญาจ้างงานในระยะยาว และแน่นอนว่าการที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นมากก็ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นจริงได้ด้วยเช่นกัน ทั้งในแง่ของการทำงานจากทางไกลและการจับคู่ฟรีแลนซ์กับนายจ้าง โดยข้อมูลจาก McKinsey ระบุว่า 15% ของพนักงานอิสระใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลในการหางาน

ขณะเดียวกัน โปรไฟล์ของคนทำงานชั่วคราวเองก็เปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่แรงงานขาจรส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ใช้แรงงานตามภาคเกษตรกรรม การแปรรูปทางอุตสาหกรรม และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน นักการตลาด ดีไซน์เนอร์ ผู้พัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผู้ให้คำปรึกษา แม้กระทั่งผู้บริหารระดับสูงเองต่างก็เลือกที่จะก้าวเข้าสู่ Gig Economy โดยมองว่าเป็นเส้นทางที่น่าสนใจยิ่งขึ้นที่จะนำไปสู่ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตที่ต้องการ การเลือกชีวิตการทำงานที่มีอิสระในบางช่วงหรือตลอดชีวิตการทำงานจึงกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพการงานที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน กระทั่งว่าเป็นวิธีที่ให้ผลดีกว่าเสียด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ เรายังเห็นได้ชัดว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แบบดั้งเดิม เช่น อายุ ช่วงรายได้ ระดับการศึกษา หรือภูมิศาสตร์ทางกายภาพ ร่วมกันแต่อย่างใด ในความเป็นจริงนั้น เราสามารถจำแนกประเภทของคนที่ทำงานใน Gig Economy ได้ง่ายกว่าเดิมมาก โดยอิงจากสาเหตุที่คนเหล่านี้หันมาทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ข้อมูลจากบริษัทบ่มเพาะธุรกิจอย่าง Velocity พบว่า 70% ของพนักงานชั่วคราวในสหรัฐฯ ตัดสินใจเป็นฟรีแลนซ์เอง โดยมีรายได้หลักมาจากงานฟรีแลนซ์ ขณะที่ 56% เลือกที่จะทำงานแบบชั่วคราวเพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติมจากแหล่งรายได้หลักของตน

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเคล็ดลับมืออาชีพทั้ง 6 ข้อเพื่อค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร

Gig Economy มีลักษณะเป็นอย่างไร

Gig Economy มีลักษณะเป็นอย่างไร

การพัฒนาและความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีมือถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตของการทำงานแบบชั่วคราว ในระบบเศรษฐกิจจากการจ้างงานแบบครั้งคราวสมัยใหม่ แพลตฟอร์มดิจิทัลคือตัวเชื่อมต่อฟรีแลนซ์เข้ากับลูกค้า สิ่งนี้ก่อให้เกิดพื้นที่ซื้อขายสินค้าและบริการขนาดใหญ่ในทุกกลุ่มประชากรและทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเปิดโอกาสระดับสากลให้กับคนทุกคนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เว็บไซต์สำหรับแต่ละอุตสาหกรรมและอาชีพโดยเฉพาะเองก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มระหว่างอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงพนักงานเข้ากับธุรกิจและโอกาสต่างๆ สิ่งนี้จึงช่วยให้นักกฎหมาย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ศิลปิน นักดนตรี ช่างประปา และช่างไฟฟ้าสามารถหางานและติดต่อหากันได้ ทั้งยังช่วยสร้างเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมถึงมอบการฝึกอบรมและการพัฒนาอาชีพแก่พนักงานอิสระในสาขาเฉพาะทางได้

ใครคือผู้นำใน Gig Economy

ใครคือผู้นำใน Gig Economy

การเติบโตของ Gig Economy เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างแท้จริงโดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ ข้อมูลจาก Gigonomy เผยว่า ปี 2019 พนักงานที่ทำงานอิสระในสหรัฐฯ มีจำนวน 57 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบเศรษฐกิจ ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรที่จำนวนฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้นถึง 31% ในปี 2018 ขณะที่ชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บราซิล ปากีสถาน ยูเครน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ต่างก็มีการทำงานแบบอิสระที่เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

Airbnb เป็นหนึ่งในธุรกิจแบบ Gig Economy อันดับต้นๆ ของโลกได้ช่วยให้เจ้าของที่พักอาศัยให้เช่ามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย โดยนายจ้างอันดับต้นๆ รายอื่นที่ได้รับประโยชน์จากพนักงานชั่วคราวจำนวนมาก ได้แก่ Amazon Flex ที่ว่าจ้างฟรีแลนซ์ให้ขนส่งพัสดุทั่วสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร Etsy ที่ให้บริการแพลตฟอร์มขายสินค้าแก่ศิลปินและผู้เชี่ยวชาญด้านงานฝีมือ และ Fiverr ที่ช่วยให้ธุรกิจที่ต้องการพัฒนาบริการบนเว็บไซต์ของตนเองได้พบกับดีไซน์เนอร์ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ นักการตลาดโซเชียลมีเดีย ตลอดจนนักพากย์

อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของ Gig Economy

อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของ Gig Economy

โควิด-19 เป็นตัวผลักดันให้พนักงานและธุรกิจจำนวนมากขึ้นหันไปทำงานในระยะสั้นที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย การทำงานแบบ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นในทุกสัปดาห์และสถานที่ทำงานแบบเดิมๆ ได้หยุดชะงักเป็นเวลาเกือบ 2 ปี และแม้ว่าธุรกิจแบบดั้งเดิมจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันมากขึ้น แต่ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ารูปแบบการทำงานที่สร้างความยืดหยุ่นและข้อตกลงที่พนักงานเป็นผู้กำหนดนั้นคือตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จของธุรกิจตัวใหม่

พนักงานแบบเดิมต่างก็ต้องการความมีอิสระมากขึ้น ขณะที่หลายๆ คนพบว่างานชั่วคราวที่ตนทำเพียงเพื่อให้มีชีวิตรอดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดนั้นกลับให้ผลลัพธ์ที่ดีหรือดีกว่าในแง่ของรายได้และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต

ข้อมูลจาก Forbes เผยว่า พนักงานชั่วคราวมากกว่า 70% ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเลือกที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนี้ด้วยตนเอง ทว่าภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด พนักงานประจำจำนวนมากในปัจจุบันต่างเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนี้เพราะความจำเป็น พนักงานเหล่านี้จำนวนมากพบว่างานของตนได้หายไปแล้ว หรือสถานการณ์ของตนทำไม่สามารถทำงานแบบเดิมที่ต้องอยู่ออฟฟิศแบบเต็มเวลาได้อีกต่อไป เนื่องจากโรงเรียนและสถานรับเลี้ยงหรือดูแลถูกปิด และคนเหล่านี้จำเป็นต้องออกจากงานเพื่อมาดูแลผู้อื่น และเมื่อเกิดวิกฤติค่าครองชีพร่วมด้วย ทั้งหมดนี้จึงทำให้พนักงานจำนวนมากพบว่าเงินเดือนเก่าของตนไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้อีกต่อไป และหันมาพึ่ง Gig Economy เพื่อหารายได้เสริมหรือแทนที่รายได้เดิม

ตัวอย่างของ Gig Economy

ตัวอย่างของ Gig Economy

นอกจากธุรกิจรายใหญ่ระดับโลกซึ่งเป็นผู้นำในการว่าจ้างพนักงานชั่วคราวแล้ว ธุรกิจในภาคส่วนต่อไปนี้ล้วนมีการเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน สถิติของอังกฤษและเวลล์ตั้งแต่ปี 2016-2021 พบว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าเติบโตขึ้น 350% บริการภายในบ้านเติบโตขึ้น 166% การทำธุระแทนเติบโตขึ้น 200% และงานในรูปแบบดิจิทัลซึ่งทำงานจากทางไกลได้เติบโตขึ้น 100% ขณะที่ธุรกิจส่งอาหาร การขนส่ง และการใช้ทรัพย์สินร่วมกัน (เช่น การเช่าทรัพย์สินในช่วงวันหยุดเทศกาล) ต่างก็อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีแรงกระตุ้นมาจากจำนวนฟรีแลนซ์และพนักงานชั่วคราว

ข้อดีของการดำเนินธุรกิจใน Gig Economy

ข้อดีของการดำเนินธุรกิจใน Gig Economy

ข้อดีสำหรับบริษัท
ความยืดหยุ่น

ธุรกิจที่เผชิญกับความผันผวนด้านอุปสงค์ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยเรื่องฤดูกาล การเติบโต การลดขนาดธุรกิจ หรือกลไกตลาด สามารถปรับจำนวนพนักงานได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ผลิตภาพ

พนักงานที่มีความสุขมากขึ้นมักจะมีผลิตภาพมากขึ้นตามมา ดังนั้น การว่าจ้างผู้คนที่ตัดสินใจจัดการชีวิตการทำงานเองจึงอาจนำมาซึ่งแรงจูงใจและความพึงพอใจในหน้าที่การงานที่มากขึ้นในหมู่พนักงานทั้งหมดได้ นอกจากนี้ พนักงานที่ไม่มีสัญญาผูกพันระยะยาวยังอาจมีแรงจูงใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจและเพื่อจูงใจให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอีกด้วย

ความคุ้มค่า

นายจ้างที่ว่าจ้างพนักงานชั่วคราวสามารถลดต้นทุนด้านการว่าจ้างพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างและการปลดพนักงานออก แพ็คเกจสวัสดิการของพนักงาน กองทุนเพื่อการเกษียณ รวมไปถึงการลาป่วยและลาพักร้อนแบบไม่หักเงินได้

การเข้าถึงพนักงานที่มีความสามารถ

เนื่องจากฟรีแลนซ์ที่ทำงานระยะสั้นมีทักษะและประสบการณ์ให้เลือกหลากหลาย นายจ้างจึงสามารถเลือกคนทำงานที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะที่จำเป็นหรือความสามารถในการทำงานตามแผนที่กำหนด

ข้อดีสำหรับพนักงานชั่วคราว
ทางเลือก

ผู้ที่ทำงานชั่วคราวสามารถเลือกงานที่ต้องการทำและเวลาทำงานได้ ทำให้สามารถเพิ่มชั่วโมงทำงานเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการด้านรายได้ของตนเองได้ และเนื่องจากแพลตฟอร์มดิจิทัลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คนเหล่านี้จึงสามารถเข้าถึงงานที่หลากหลายกว่าเดิมได้ทุกเมื่อ

โอกาสในการสำรวจอาชีพใหม่ๆ

พนักงานฟรีแลนซ์สามารถลองหางานใหม่ๆ รับการฝึกอบรม รวมถึงสามารถเปลี่ยนสายงานได้โดยไม่มีข้อผูกมัดในระยะยาวไปพร้อมๆ กับรักษารายได้ให้มั่นคงได้

ความหลากหลาย

แรงงานใน Gig Economy สามารถรับงานหลายงานในคราวเดียว หรือสลับไปมาระหว่างอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆ จึงสามารถหลีกเลี่ยงภาวะหมดไฟ1 และความเบื่อหน่ายได้

ความยืดหยุ่น

การทำงานแบบครั้งคราวทำให้ผู้คนมีความยืดหยุ่นในการจัดการเรื่องอาชีพให้สอดคล้องกับด้านอื่นๆ ของชีวิต เช่น ภาระผูกพันในครอบครัว การดูแลบุตรหลาน และงานอดิเรก

ความมีอิสระ

ฟรีแลนซ์ที่จัดการสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองจะได้สัมผัสกับการจัดการธุรกิจในด้านอื่นๆ เช่น การทำบัญชีและการจัดทำงบประมาณ รวมถึงสามารถมีอิสระได้อย่างเต็มที่จากการทำงานเพื่อตัวเอง

ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจใน Gig Economy

ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจใน Gig Economy

ข้อเสียสำหรับบริษัท
ข้อเสียสำหรับบริษัท
การขาดการมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่น
การขาดการมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่น

บริษัทที่ผลิตบุคลากรจากกลุ่มคนทำงานฟรีแลนซ์อาจต้องเผชิญกับการขาดการมีส่วนร่วมกับเป้าหมายขององค์กร และอาจส่งผลให้การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้าเกิดขึ้นได้ยากกว่าเดิมเมื่อมีการเปลี่ยนพนักงานอยู่เป็นประจำ

การต้องสอนงานใหม่อยู่เสมอ
การต้องสอนงานใหม่อยู่เสมอ

การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะเดิม และการเพิ่มเติมทักษะใหม่ทั้งหมดภายในองค์กรอาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและใช้เวลาดำเนินการนานขึ้นเมื่อต้องทำเช่นนี้กับพนักงานใหม่อยู่เรื่อยๆ

ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม

การที่พนักงานเข้าออกองค์กรอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้การสร้างและรักษาความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อบังคับของที่ทำงานและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นทำได้ยาก

การขาดความพร้อม
การขาดความพร้อม

การที่พนักงานชั่วคราวพัฒนาเส้นทางอาชีพของตนจนประสบความสำเร็จอาจทำให้นายจ้างเข้าถึงพนักงานคนสำคัญได้ยาก เนื่องจากคนเหล่านี้อาจทำงานให้กับบริษัทอื่นๆ อยู่

ผลกระทบเชิงลบต่อวัฒนธรรมในที่ทำงาน
ผลกระทบเชิงลบต่อวัฒนธรรมในที่ทำงาน

การที่พนักงานออกจากทีมเป็นประจำอาจส่งผลด้านลบต่อทีมที่ทำงานแบบถาวรได้

ข้อเสียสำหรับพนักงาน
สิทธิในการจ้างงานที่ขาดหายไป
สิทธิในการจ้างงานที่ขาดหายไป

ฟรีแลนซ์ ลูกจ้างชั่วคราว หรือผู้ที่ทำงานระยะสั้นในหลายกรณีแทบจะไม่มีสิทธิในการจ้างงาน ทั้งยังอาจไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการคุ้มครองหรือชดเชยในกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือการบีบบังคับให้ลาออก การเลิกจ้างเพื่อลดคนทำงาน การจ่ายเงินเมื่อป่วย หรือการให้สิทธิวันหยุดพักผ่อน รวมถึงไม่ได้สะสมเงินสมทบบำเหน็จบำนาญที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท

การขาดการลงทุนด้านอาชีพ
การขาดการลงทุนด้านอาชีพ

บริษัทต่างๆ ที่ว่าจ้างพนักงานชั่วคราวไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านการพัฒนาอาชีพของพนักงานเหล่านี้ เช่น การฝึกอบรมหรือการวางแผนการเลื่อนตำแหน่ง จึงอาจทำให้พนักงาน หรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานในบริษัทเดิมมาอย่างต่อเนื่องแสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงานหรือทักษะหรือประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นได้ยาก

การขาดความมั่นคง
การขาดความมั่นคง

ข้อเสียที่สำคัญของการทำงานแบบฟรีแลนซ์และสัญญาจ้างระยะสั้นคือการขาดความมั่นคงในอาชีพการงาน แม้ว่าการทำงานประเภทนี้อาจสร้างรายได้เทียบเท่าหรือดีกว่าสัญญาแบบงานประจำ แต่การจะประสบความสำเร็จนั้นก็ขึ้นอยู่กับการมีงานที่คุณต้องการเข้ามาให้ทำอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน แม้แต่เงินก้อนใหญ่จากผลงานชิ้นโบแดงก็อาจถูกใช้จนหมดอย่างรวดเร็วได้ หากต้องใช้เวลานานกว่าจะมีงานใหม่เข้ามา

อนาคตของ Gig Economy
อนาคตของ Gig Economy

จำนวนพนักงานชั่วคราวทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 43 ล้านคนในปี 2018 เป็น 78 ล้านคนในปี 2023 โดยบางส่วนคาดการณ์ว่าพนักงานฟรีแลนซ์จะคิดเป็นสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของแรงงานในสหรัฐฯ ภายในสิ้นปีดังกล่าว นั่นหมายความว่า ธุรกิจต่างๆ จะมีพนักงานชั่วคราวให้เลือกจ้างมากขึ้น และพนักงานชั่วคราวเองก็จะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

Gig Economy ที่เติบโตขึ้นนี้ยังได้สร้างผลกระทบอื่นๆ ตามมาด้วย เมื่อพนักงานที่หลุดจากการคุ้มครองแรงงานแบบเดิมมีจำนวนเพิ่มขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือการที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเงินสมทบบำเหน็จบำนาญ สิทธิการได้รับเงินสำหรับวันหยุดพักผ่อนหรือวันลาป่วย หรือการคุ้มครองในกรณีถูกเลิกจ้างเพื่อลดคนทำงานหรือถูกให้ออก ดังนั้น กฎหมายจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันเพื่อปกป้องสิทธิ สวัสดิการ และการคุ้มครองสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องมอบให้กับพนักงานชั่วคราว รวมถึงสิ่งที่พนักงานเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง

อ่านต่อ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้ว่าผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลทั่วโลกสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร

ดาวน์โหลดเลย

โพสต์ล่าสุด

ความเป็นผู้นำ | ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

10 บทเรียนที่ผู้นำได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ประสบการณ์ที่ผู้คนพบเจอในชีวิตจริงสามารถกำหนดตัวตนและแนวทางการเป็นผู้นำของคนเหล่านั้นได้ เรามาดูตัวอย่างทั้ง 10 เรื่องต่อไปนี้กัน

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

ค่านิยมขององค์กรคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญ

ค่านิยมขององค์กรสามารถชี้นำทิศทางแก่พนักงานและให้เหตุผลที่จะเชื่อมั่นแก่ลูกค้า เรามาดูวิธีพัฒนาและสื่อสารค่านิยมขององค์กรกัน

วัฒนธรรม | ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

วัฒนธรรมองค์กร 4 ประเภท: แบบใดดีที่สุดสำหรับธุรกิจ

ตัวตนของธุรกิจเป็นการผสมผสานที่ไม่เหมือนใครของวัฒนธรรมต่างๆ ขององค์กร ดูว่าคุณจะค้นหาตัวตนของธุรกิจและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวตนนั้นได้อย่างไร