เหตุใดการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับกรอบความคิดแบบเติบโต
ผู้นำที่เก่งจะไม่หยุดนิ่ง การมีความยืดหยุ่นและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนทั้งในด้านจิตใจและพฤติกรรมล้วนเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในโลกที่มีอุปสรรคและไม่อาจคาดเดา


ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอาจดูเหมือนทำทุกอย่างอย่างสมบูรณ์แบบมาโดยตลอด และคนอาจมองว่าทุกสิ่งที่พวกเขาทำนั้นประสบความสำเร็จ เห็นผลตอบแทนงอกเงยจากทุกเม็ดเงินที่ลงทุน และทุกอย่างที่ริเริ่มขึ้นมาก็ไปได้สวยตั้งแต่ครั้งแรก
แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป
Milton Hershey ก่อตั้งบริษัทขนมหวานมาไม่น้อยกว่า 3 แห่งก่อนที่จะกลายเป็นแบรนด์ช็อกโกแลตชั้นนำของสหรัฐฯ ในขณะที่ Colonel Sanders มีอายุ 56 ปีและถูกปฏิเสธสูตรไก่ทอดถึง 1000 ครั้งก่อนที่จะกลายเป็นผู้ก่อตั้ง KFC Steven Spielberg ไม่สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาภาพยนตร์ได้ James Dyson ใช้เงินออมที่เขาเก็บมากว่า 15 ปี และพัฒนาเครื่องต้นแบบไปกว่า 5,100 ชิ้นกว่าจะประสบความสำเร็จ
แน่นอนว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จในทันทีและไม่มีอะไรมารับประกันว่าตนจะประสบความสำเร็จ แต่หากเราสมมุติว่าพวกเขามีความสามารถและคุณสมบัติที่ดีอย่างล้นเหลือมาตั้งแต่ต้น แล้วอะไรคือข้อแตกต่างระหว่างความล้มเหลวในตอนต้นและความสำเร็จในตอนท้ายกันล่ะ
ถ้าให้เดาก็คงกล้าตอบได้ว่าพวกเขาทั้งหมดล้วนมีกรอบความคิดแบบเติบโต
เรียนรู้วิธีเป็นผู้นำบริษัทที่เชื่อมต่อถึงกัน
ดาวน์โหลดอีบุ๊กของเราเพื่อเรียนรู้เหตุผลที่ซีอีโอรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมาย ความไว้วางใจ ความถูกต้อง และความซื่อสัตย์เหนือสิ่งอื่นใด









กรอบความคิดแบบเติบโตกับกรอบความคิดแบบยึดติด
ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะเชื่อว่าความสามารถและคุณสมบัติของตนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ในทุกย่างก้าวของการเดินทาง พวกเขารู้ตัวว่าตนสามารถพัฒนาและยกระดับความสามารถเหล่านี้ และยังสามารถเพิ่มพูนทักษะความเป็นผู้นำได้จากประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละครั้งได้อีกด้วย พวกเขาไม่ห่วงเกี่ยวกับการรักษาภาพลักษณ์ให้ดูฉลาด แต่จะทุ่มเทพลังไปกับการพัฒนาตนเอง
ในทางกลับกัน ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบยึดติดมักจะเชื่อว่าทักษะและความสามารถที่มีติดตัวนั้นเป็นสิ่งสมบูรณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก หรือมักคิดว่าสิ่งสำคัญคือการใช้เครื่องมือที่ตายตัวและพยายามทำต่อไปให้ดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรานั้นก็ไม่มีใครสักคนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตหรือแบบยึดติดเพียงอย่างเดียว ดังที่ Carol Dweck กล่าวไว้ใน Harvard Business Review1 ว่าผู้คนมีกรอบความคิดแบบเติบโตและยึดติดผสมผสานกัน ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา
คุณมีกรอบความคิดแบบเติบโตหรือไม่
หากต้องการทราบว่าคุณมีความคิดในทิศทางที่ยึดติดหรือเติบโต ให้ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
พรสวรรค์ของคุณเป็นสิ่งที่ตายตัวหรือยังสามารถพัฒนาพร้อมทำให้ทักษะเจนจัดขึ้นได้
เมื่อคุณเริ่มทำงานชิ้นใหม่ คุณมีความคิดเห็นในแง่ลบหรือรู้สึกมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปในเชิงบวก
คุณต้องการการยอมรับจากผู้อื่น หรือคุณสนใจที่จะพัฒนาตนเองมากกว่า
ความผิดพลาดของคุณคือสิ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าคุณไม่เก่งในด้านใดด้านหนึ่ง หรือความผิดพลาดนั้นเป็นโอกาสในการเรียนรู้
ความท้าทายเป็นสิ่งที่คุณมักจะหลีกเลี่ยง หรือเป็นสิ่งที่ทำให้คุณตื่นเต้น
คุณป้องกันตัวเองจากความล้มเหลว หรือใช้ความล้มเหลวเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้น
คุณเชื่อว่าความพยายามอย่างหนักจะไม่ได้อะไรตอบแทน หรือเป็นสิ่งสำคัญสู่ความสำเร็จ
ความพ่ายแพ้ทำให้คุณท้อใจหรือสร้างแรงจูงใจให้คุณ
เมื่องานยากขึ้น คุณจะยอมแพ้ง่ายๆ หรือพยายามต่อไป
คุณรู้สึกอย่างไรกับคำติชม คุณรู้สึกแย่กับคำติชมหรือรับฟังคำติชมเพื่อนำไปพัฒนา
เมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ คุณรู้สึกกลัวหรือได้รับการผลักดัน
การเป็นผู้นำที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตมีข้อดีอย่างไร
มีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะรู้สึกมีพลังและมุ่งมั่นมากกว่า และได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่เพิ่มขึ้น กรอบความคิดแบบเติบโตจะทำให้คุณมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น - ยิ่งคุณให้ความสำคัญกับความพยายามในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะทำงานได้สำเร็จก็ยิ่งมีมากเท่านั้น
ควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น - กรอบความคิดแบบเติบโตทำให้คุณรู้สึกมั่นใจและสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น เพราะคุณรู้ตัวว่าสามารถพัฒนาและปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้
ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น - หากคุณเชื่อว่าคุณจะประสบความสำเร็จ คุณจะเปิดรับวิธีการสร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อคว้าความสำเร็จ คุณแทบจะไม่ยอมแพ้และไล่ตามเป้าหมายต่อไปจนกว่าจะทำสำเร็จ
มีความยืดหยุ่นมากขึ้น - การมีความมั่นใจในความสามารถที่จะเรียนรู้และปรับตัวจะช่วยให้คุณเปิดรับการเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ๆ และใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่
เรียนรู้ได้เร็วขึ้น - การทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้วและเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้คุณได้รับทักษะและความรู้อย่างรวดเร็วพร้อมกับสนุกไปกับมัน
มักจะไม่ย่อท้อต่อความผิดหวัง - การมองอุปสรรคที่คุณต้องก้าวข้ามตามหลักความเป็นจริงจะทำให้คุณไม่ยอมแพ้
กรอบความคิดนี้มีความสำคัญต่อภาวะความเป็นผู้นำที่เติบโตอย่างไร
เมื่อทีมและบริษัทเปิดรับกรอบความคิดแบบเติบโต พวกเขาจะสามารถสร้างผลประโยชน์ได้อย่างทวีคูณ จากแบบสำรวจที่ดำเนินการโดย NeuroLeadership2 พบว่าสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ผู้นำใช้กรอบความคิดแบบเติบโตคือการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
กรอบความคิดแบบเติบโตช่วยให้ผู้คนมีความคล่องตัว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และตระหนักได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้คือสภาวะรูปแบบใหม่ ผู้นำและทีมอาจต้องจดจ่ออยู่กับ "การทำให้ดีขึ้น" มากกว่า "การทำให้ดี" เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเติบโต
กรอบความคิดแบบเติบโตยังสามารถช่วยคุณเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานได้อีกด้วย เพราะช่วยให้พนักงานมองเห็นศักยภาพของตัวเอง ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้า และสามารถกำหนดเป้าหมายสิ่งที่ต้องปรับปรุง
ฉันสามารถเปลี่ยนไปใช้กรอบความคิดความเป็นผู้นำแบบเติบโตได้หรือไม่
ได้ กรอบความคิดแบบเติบโตเป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังและรักษาไว้ผ่านการพัฒนาที่วางโครงสร้างเป็นอย่างดี ซึ่งจะปูทางไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ทั้งในส่วนบุคคลและอาชีพการงาน
หากคุณรู้สึกว่าคุณมีกรอบความคิดแบบยึดติดที่คอยฉุดรั้งคุณหรือธุรกิจของคุณไว้ ยังมีแนวทางแก้ไขที่คุณสามารถทำได้อยู่หลายวิธี
ดูแนวทางจัดการประสิทธิภาพการทำงาน
มีอุปสรรคขัดขวางการเติบโตหรือไม่ ผู้นำที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะมองเห็นโอกาสสำหรับทีมของตน แม้จะอยู่ท่ามกลางภาวะวิกฤตก็ตาม พวกเขาไม่โทษความพยายามที่สูญเปล่า (จริงๆ แล้วพวกเขาจะไม่โทษสิ่งใดเลย) แต่กลับพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ทีมเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธุรกิจ
ให้ความสำคัญตรงจุด
มีความชัดเจนในสิ่งที่คุณต้องการ รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง กำหนดและชี้แจงจุดที่ต้องได้รับการปรับปรุงให้ชัดเจน และมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ ซึ่งอาจต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่ตามความต้องการของคุณและองค์กร
ให้คุณค่ากับความพยายาม
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการชมเชยนักเรียนที่พยายามปรับปรุงและพัฒนาตนเองนั้นประสบความสำเร็จมากกว่าการชมเชยความสามารถของนักเรียน 3 ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปใช้กับคนในทีมการทำงานของคุณได้ด้วยเช่นกัน ให้คุณค่ากับการพัฒนาและทัศนคติของผู้อื่น เช่นเดียวกับความสามารถของพวกเขา
สานสัมพันธ์กับผู้อื่น
พัฒนาและบ่มเพาะความสัมพันธ์แบบสนับสนุนซึ่งกันและกันให้ทั่วทั้งสถานที่ทำงานเพื่อการเรียนรู้และการทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมา ใช้ความสัมพันธ์เหล่านี้เพื่อเปิดรับกรอบความคิดหรือมุมมองใหม่ๆ และใช้เป็นโอกาสในการให้คำปรึกษากับเพื่อนร่วมทีมหรือต่างทีม คุณควรสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานให้ชัดเจน และสร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง
ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัย
วิธีนี้อาจทำให้คุณเติบโตได้มากที่สุด สลัดความคิดอคติทิ้งไป แล้วลองเปิดใจทำสิ่งใหม่ๆ
เปิดรับความท้าทายครั้งใหม่
และอย่ากลัวที่จะเรียนรู้จากการทำงาน คุณไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์หรือคุณสมบัติเพื่อเริ่มต้นเสมอไป เพราะการเรียนรู้ในขณะที่คุณทำงานไปด้วยมักจะมีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากกว่า
ปรับตัวเลือกให้เหมาะกับคุณ
เลือกจุดปรับปรุงที่มีความสำคัญต่อตัวคุณและองค์กร แล้วปรับแผนพัฒนาความเป็นผู้นำให้เหมาะสมกับคุณ
เติบโตจากความล้มเหลว
การยอมรับโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวทำให้คุณและทีมของคุณกล้าที่จะเสี่ยง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและกำลังเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เคยใช้ได้ผลในอดีตอาจไม่เหมาะกับคุณอีกต่อไปแล้วก็ได้ การทดลองจึงนำไปสู่นวัตกรรม

ให้และรับฟังคำติชม
พัฒนาความสามารถผ่านการให้และรับฟังคำติชม คุณควรรับรู้และยอมรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ลองหยุดพักเพื่อใช้เวลาทบทวนและติดตามความคืบหน้าของคุณอยู่เสมอ ติดต่อกับผู้คนภายในองค์กรของคุณเพื่อขอคำแนะนำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจากพวกเขา เมื่อรับฟังแล้วจึงแสดงออกในเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์
ฝึกฝน
นำความรู้ที่ได้มาใช้จริงในประสบการณ์ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับผลักดันตัวคุณเองให้บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น
สร้างพฤติกรรมแสวงหาความช่วยเหลือในเชิงรุก
อย่ามองข้ามความสำคัญของทักษะ 'ทั่วไป' หมั่นเชื่อมต่อกับคนอื่นๆ ทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน พร้อมพัฒนาความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายทางสังคม
เรียนรู้จากทุกประสบการณ์
ความสำเร็จในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของคุณนั้นต่อยอดกันเองขึ้นไปเรื่อยๆ จำไว้ว่าทุกประสบการณ์มีบางสิ่งให้เรียนรู้อยู่เสมอ แม้ว่าโอกาสที่คุณได้รับในปัจจุบันจะดูไม่เกี่ยวข้องกับตัวคุณสักเท่าไร แต่หากคุณมองให้ลึกหรือคิดนอกกรอบ คุณก็อาจพบกับความเชื่อมโยงที่สำคัญ
อย่าหยุดเรียนรู้
การมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้และพัฒนาเป็นสิ่งที่ดีเสมอ แต่นั่นก็ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เท่านั้น คุณยังต้องรู้จักปล่อยวางทักษะความรู้ที่เคยมีมาด้วยเช่นกัน แนวทางที่เคยใช้ได้ในอดีตอาจใช้ไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน หรืออาจมีวิธีการอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็ได้ ดังนั้นการไม่ยึดติดกับพฤติกรรมในอดีตจะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้า
ทำงานร่วมกัน
เราจะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้เร็วกว่าหากทำงานร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้มักไม่เกิดบ่อยนักหากทุกคนทำงานแบบตัวใครตัวมัน นอกจากนี้ อย่าลืมคำนึงถึงความหลากหลายด้วยเช่นกัน เพราะหากคุณอยู่ท่ามกลางผู้คนที่เหมือนคุณมากเกินไป คุณอาจขาดมุมมองความคิดอันหลากหลายที่มีประโยชน์ไปได้ ลองทำงานร่วมกับผู้คนที่หลากหลายเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีคนที่คอยเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างหรือมีมุมมองที่แตกต่างออกไปตลอดเวลา
สร้างแรงผลักดัน
มุ่งมั่นผลักดันอาชีพการงานของคุณ เส้นทางการทำงานของทีม รวมถึงคนในองค์กรให้ก้าวหน้า มองเห็นคุณค่าและชมเชยผู้อื่น
ตั้งเป้าหมายและเผชิญกับความเสี่ยง
อย่ากลัวที่จะทำลายกรอบเดิมๆ คุณไม่จำเป็นต้องทำตามวิถีเดิมตลอดไปเพียงเพราะว่าผู้คนปฏิบัติกันอย่างนั้นมาเป็นเวลานาน เทคโนโลยี นวัตกรรม และมุมมองใหม่ๆ อาจช่วยคุณปรับปรุงหรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ ความท้าทายครั้งใหม่ถือเป็นโอกาส ไม่ใช่ภัยคุกคามต่อวิธีการทำงานรูปแบบเก่า
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้

เชื่อมต่อถึงกันอยู่เสมอ
รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากบุคลากรหน้างาน
เมื่อส่งแบบฟอร์มนี้ จะถือว่าคุณยินยอมที่จะรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการตลาดจาก Facebook ซึ่งประกอบด้วยข่าวสาร กิจกรรม ข้อมูลอัพเดต และอีเมลส่งเสริมการขาย โดยคุณสามารถถอนความยินยอมและเลิกรับอีเมลดังกล่าวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ คุณยังรับทราบว่าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวบน Workplace แล้ว